2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วัฒนธรรมการขับงึมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 พฤศจิกายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN 2697-6676 
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสังคีตลักษณ์วัฒนธรรมการขับงึมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อศึกษาบทบาทและการสืบทอดวัฒนธรรมการขับงึมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมการขับงึมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลจากภาคสนาม โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การขับงึมเป็นการนำบทกลอนหรือผญา มาใช้ในการขับลำ แบบด้นกลอนสด (Improvisation) ใช้บันไดเสียงแบบเพนทาโทนิก (Pentatonic Scale) ทำนองของการขับงึมมีรูปลักษณ์แบบผสมผสาน คือ แบบเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน (Disjunctive) แบบขึ้นๆ ลงๆ (Undulating) แบบค่อยๆ สูงขึ้น (Ascending) แบบค่อยๆ ต่ำลง (Descending) และแบบสม่ำเสมอ ไม่ขึ้นไม่ลง (Terracing) 2. บทบาทของการขับงึมเพื่อสร้างความบันเทิง ขัดเกลาจิตใจให้กับชุมชนและสังคมใช้ในพิธีกรรมและวัฒนธรรมประเพณี มีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ และมีการส่งเสริมการเรียนรู้โดยภาครัฐและเอกชน 3. การขับงึมมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวไปตามสภาพสังคมและวัฒนธรรม ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฝ่ายชายจะเป็นผู้ขับงึม ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ตอบผญา หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีการนำขับงึมมาใช้ในการแถลงนโยบายของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจในนโยบายของรัฐอย่างถ่องแท้ในปัจจุบัน การขับงึมมีการขับ โดยสลับระหว่างชายและหญิง เนื้อหาของกลอนขับจะปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของงาน  
     คำสำคัญ วัฒนธรรมการขับงึม; สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว; ดนตรี 
ผู้เขียน
617220046-5 น.ส. สกุณา พันธุระ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0