2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ศิลปะการเป่าแคนของหมอแคนแดนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร OTHER () 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารแก่นดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 27739155 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 111 
     บทคัดย่อ ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงมีความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมอันยาวนาน วัฒนธรรมดนตรีของภูมิภาคนี้ มีลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างซ้อนทับกัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คงหนีไม่พ้นเสียงลำเสียงแคน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติลาว ซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศว่า เสียงแคนของชาวลาว ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จากยูเนสโก แคนเป็นที่นิยมกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของประเทศลาว และนิยมนำไปเล่นกันตามงานในเทศกาลหมู่บ้านต่าง ๆ จากการลงพื้นที่ภาคสนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจ ธรรมชาติ และระบบความคิดของผู้คนในชนชาตินั้น ๆ มีการดำเนินการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้ในเรื่องแคน และการขับลำ พบว่าปัจจุบันได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการสืบทอดองค์ความรู้ โดยนำเข้าสู่การระบบศึกษาใน โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นักเรียนมีโอกาสเรียนเป่าแคน จากอาจารย์คำเสน พิลาวง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเป่าแคน และเรียนขับลำจากอาจารย์เวียงพู หนูนิ่ม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องหมอลำ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการขับงึม ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านของชาวพวน ที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำงึม บ้านปากกะยูง แขวงเวียงจัน โดยมีหมอขับคือนางคำมะนี สีสุทำ ผู้เขียนได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนและการสืบทอดของศิลปวัฒนธรรมของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงได้เขียนบทความเรื่องนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรี หมอลำ หมอแคน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษาวิเคราะห์ทางด้านมานุษยดุริยางควิทยาต่อไป  
     คำสำคัญ แคน , ลำ, สปป.ลาว 
ผู้เขียน
617220046-5 น.ส. สกุณา พันธุระ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0