2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบความเข้มแสงสว่างแบบพื้นที่กับมาตรฐานความเข้มแสงสว่างของต่างประเทศ กรณีศึกษาที่สถานประกอบการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 ธันวาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 
     ปีที่ 23 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบความเข้มแสงสว่างแบบพื้นที่ในมหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาล และ โรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาที่ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยใช้เครื่องตรวจวัดแสงสว่าง Digital Lux Meter รุ่น LX-71 ที่ผ่านการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) โดยมีเอกสารรับรอง ก่อนเริ่มการตรวจวัดทุกครั้งมีการปรับให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing) การตรวจวัดครั้งนี้เป็นการตรวจวัดหาค่าเฉลี่ยความเข้มแสงสว่างแบบพื้นที่ (Area Measurement) พื้นที่การศึกษามีทั้งหมด 353 พื้นที่เปรียบเทียบกับมาตรฐานความเข้มแสงสว่าง 2561 ของกระทรวงแรงงาน ประเทศไทย มีจำนวนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 34.84 พื้นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65.16 เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน IES.1981.1983 ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 34.56 จำนวนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65.44 ขณะที่เปรียบเทียบกับมาตรฐาน EN 12464-1:2002 ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีจำนวนพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 30.31 จำนวนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ถึงร้อยละ 69.69 ดังนั้นจากผลการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างแบบพื้นที่ ยังมีพื้นที่จำนวนมาก มีปริมาณความเข้มแสงสว่างที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานของพนักงานในมหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาล และ โรงงานอุตสาหกรรม และเมื่อได้เปรียบเทียบ 3 มาตรฐานความเข้มแสงสว่างของต่างประเทศ พบว่า มาตรฐานของกระทรวงแรงงาน ประเทศไทย 2561 และมาตรฐาน IES ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนร้อยละความเข้มแสงสว่างที่ผ่านเกณฑ์มากกว่ามาตรฐาน EN 12464-1:2002 อย่างมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถใช้ในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่างที่เหมาะสมใน สปป.ลาวและเป็นจุดเริ่มต้นในการประยุกต์และพัฒนามาตรฐานความเข้มแสงสว่างในสปป.ลาว โดยพิจารณาจากการเลือกมาตรฐานความเข้มของแสงสว่างที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ ซึ่งคำนึงถึงสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ร่วมกับการพิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์และวิธีการตรวจวัดสำหรับการนำไปปฏิบัติและบังคับใช้กับสถานประกอบการ ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและประหยัดเงินลงทุน รวมทั้งลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็นอีกด้วย 
     คำสำคัญ ความเข้มแสงสว่าง มาตรฐานความเข้มแสงสว่างของต่างประเทศ สถานประกอบการ 
ผู้เขียน
625110104-7 Miss KHAMTHAVISOUK DETCHANTHACHACK [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0