2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ภายใต้ภาวะวิกฤติ กรณีศึกษาในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 ธันวาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 
     ISBN/ISSN 2392-5787 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกของผู้บริโภค การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม และกำหนดกลยุทธ์สำหรับธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมภายใต้ภาวะวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลกับผู้บริโภค และการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใชในการเก็บข้อมูลกับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติให้อยู่ในรูปแบบของ Descriptive statistics และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกของผู้บริโภค ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือสินค้าในร้านมีให้เลือกหลากหลาย ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ คือร้านค้ามีการติดป้ายราคาสินค้าอย่างชัดเจน และปัจจัยด้านบุคคล คือผู้ขายมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้บริการอย่างเต็มใจ (2) การปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้แก่ สินค้าที่นำมาจำหน่ายไม่เน้นสินค้าที่มีความหลากหลาย เนื่องจากอาจจะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมขาดทุนในส่วนของสินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการ การเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ เช่น พร้อมเพย์ และการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจ และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง (3) กลยุทธ์สำหรับธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ภายใต้ภาวะวิกฤติ ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก : การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค เพื่อรักษาฐานลูกค้าประจำให้คงอยู่ในระยะยาว กลยุทธ์เชิงแก้ไข : การนำเข้าเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารจัดการร้านค้าปลีกด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อช่วยลดปัญหาด้านการบริหารจัดการภายในร้านค้าปลีก และการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน : ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมควรลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายคงที่ และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค และกลยุทธ์เชิงรับ : การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 
     คำสำคัญ การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านค้าปลีก, การปรับตัวของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม, กลยุทธ์ภายใต้ภาวะวิกฤติ 
ผู้เขียน
645210006-2 น.ส. ปิยวรรณ ถุงเงิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0