ชื่อบทความ |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3: กรณีศึกษายาอมประสะมะแว้ง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
24 ธันวาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice, TJPP) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ISBN/ISSN |
1906-5574 |
ปีที่ |
16 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: เพื่อวางแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3 กับยาอมประสะมะแว้งและประเมินผลลัพธ์ระยะสั้นของแผนการตลาดดังกล่าวสำหรับยายี่ห้อ A วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 หรือการวางแผน เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำแผนการตลาด ข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บ ได้แก่ ยอดขายยาอมชนิดนี้ ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลสถานที่ผลิตยา ข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บ คือ ทัศนคติต่อการใช้ยาสมุนไพร ความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาด ความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาสมุนไพร การดำเนินงานผลิตยาสมุนไพร และการทำตลาดยาสมุนไพร ข้อมูลนี้เก็บโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้มีอำนาจในการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ 3 ท่าน 2) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการสั่งใช้ยาสมุนไพร คือ แพทย์แผนปัจจุบัน 3 ท่าน แพทย์แผนไทย 3 ท่าน และเภสัชกร 3 ท่าน 3) กลุ่มผู้ป่วย/ผู้บริโภคยาอมชนิดนี้ 30 ท่าน และ 4) บุคลากรของสถานที่ผลิตยา A จำนวน 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ เป็นวิเคราะห์ SWOT และ TOWS matrix ของสถานที่ผลิตยา A ตลาดยาอมชนิดนี้ในจังหวัด การหาสาเหตุรากของการที่ยา A มียอดขายน้อย และการวางแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3 หลังจากนั้นดำเนินการตามแผนบางส่วนเป็นเวลา 3 เดือน ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตการณ์เป็นการประเมินผลจากการนำแผนไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 เป็นการสะท้อนกลับโดยใช้ข้อมูลจากปัญหาที่พบเพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแผนการตลาดและจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับสถานที่ผลิตยา A ผลการวิจัย: แผนการตลาดที่ได้มีเป้าหมายการตลาดคือ 1) เพิ่มจำนวนลูกค้า ≥10 ราย ภายใน 1 ปี และ 2) เพิ่มยอดขายยานี้ ≥ ร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี สาเหตุรากที่ทำให้ยอดขายน้อย ได้แก่ 1) บรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แบบซองตามที่ผู้บริโภคต้องการ 2) การไม่มีฝ่ายการตลาด 3) การสั่งซื้อมีขั้นตอนยุ่งยากและไม่สะดวก 4) ราคาสูงกว่าคู่แข่ง และ 5) การไม่มีนโยบายสนับสนุนยาอมชนิดนี้ แผนการตลาดที่ได้ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้านสินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด การประเมินผลรระยะสั้น พบว่า 1) จำนวนผู้สั่งซื้อยานี้เพิ่มขึ้นเป็น 18 แห่ง 2) ยอดขายยานี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากยอดขายเดิม 3) สามารถดำเนินการสำเร็จ 4 โครงการ เช่น โครงการสั่งซื้อผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ การศึกษาพบปัญหา 5 เรื่อง เช่น ความเสี่ยงจากการมีกลุ่มเป้าหมายเดียวที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐ การดำเนินโครงการนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรทำวิจัยการตลาดเพิ่มเติม 2) ควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด 3) ควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4) ควรตั้งศูนย์จัดจำหน่ายในลักษณะนิติบุคคล และ 5) ควรปรับปรุงระบบสารสนเทศการเก็บข้อมูลของสถานที่ผลิตยา A และ 6) ควรจัดหาและพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอต่อภาระงานและมีทักษะที่จำเป็น เช่น ด้านการตลาด สรุป: การนำแนวคิด A3 มาประยุกต์ใช้ในการทำแผนการตลาด ช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ตรงกับสาเหตุ รวมถึงช่วยให้มีการดำเนินงานด้านการตลาดตามวงจรคุณภาพซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |
คำสำคัญ |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, ยาอมประสะมะแว้ง, การวางแผนการตลาด, แนวคิดเอสาม, การเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|