ชื่อบทความ |
การวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอนโยบายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาและ ผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
26 มกราคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISBN/ISSN |
ISSI 2773-9791 |
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มิถุนายน 2566 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การกระจายอำนาจทางการเมืองส่งผลอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางการเมืองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นสามารถเลือกผู้นำท้องถิ่นของตนได้ การเลือกตั้งในระยะที่ผ่านมาผู้สมัครนิยมนำเอากรอบของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นมาออกแบบเนื้อหานโยบายเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง แต่เมื่อสังคม การเมือง และความคาดหวังของประชาชนมีความซับซ้อนและหลากหลาย จึงเกิดคำถามว่าเนื้อหาการสื่อสารนโยบายสำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นปรับเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร งานวิจัยนี้จึงมุ่งวิเคราะห์เนื้อหานโยบายที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในระดับเทศบาลเลือกใช้ในการนำเสนอสำหรับหาเสียงเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นในปี พ.ศ.2564 จากกรณีศึกษาพื้นที่เทศบาล 5 แห่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากเนื้อหาที่ปรากฏในป้ายรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นระดับเทศบาลที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่ออธิบายลักษณะของเนื้อหา ความเหมือนและความแตกต่าง และจัดลำดับประเด็นสำคัญตามกรอบการวิจัยที่กำหนด
ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสารนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2564 มีลักษณะไม่แตกต่างกับการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นในอดีตที่ผ่านมา กล่าวคือ เนื้อหาของนโยบายส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่กับประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับประเด็นที่พบรองลงมา คือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว ตามลำดับ อีกทั้งพบว่า ผู้สมัครส่วนใหญ่กล่าวถึงเนื้อหานโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ค่อนข้างน้อย ทั้งที่ภารกิจดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภารกิจของท้องถิ่นในด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สมัครบางรายได้นำเสนอเนื้อหานโยบายที่แปลกใหม่และไม่ค่อยปรากฏเป็นที่แพร่หลายมากนักในการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น เช่น สิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ การขนส่งสาธารณะระบบราง และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริการสาธารณะ เป็นต้น
|
คำสำคัญ |
คำสำคัญ: นโยบายเนื้อหา การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|