2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title รัฐชายแดนจำบัง: การเคลื่อนและข้ามของขอบเขตระหว่างมนุษย์กับสิ่งของในช่วงการค้าชายแดน บริเวณจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว จังหวัดนครพนม (Border regime: The movement of boundaries between humans and material during the border trade at the Checkpoint for Border Trade on Thailand-Laos Border Nakhon Phanom Province) 
Date of Distribution 21 November 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 2 "คลี่-คลาย-ญ่าย-เคลื่อน" 
     Organiser มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 
     Conference Place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 20 November 2020 
     To 21 November 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรี ศรีคำ บรรณาธิการ 
     Abstract บทความนี้นำเสนอพลวัตการควบคุมพื้นที่ชายแดนไทย – สปป.ลาว จุดผ่อนปรนท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยใช้แนวคิดระบอบชายแดนในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ข้อมูลที่ปรากฏในบทความเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อาวุโสในชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐไทย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการค้าชายแดน และผู้ซื้อสินค้าชาวไทย เป็นต้น การเลือกผู้ให้ข้อมูลใช้ทั้งวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและการเลือกแบบให้ผู้ให้ข้อมูลบอกต่อผู้ให้ข้อมูลคนต่อไป ผลการศึกษาพบว่า หลังสิ้นสุดสงครามเย็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายแดนสมัยใหม่ ที่เปลี่ยนจากพื้นที่ความมั่นคงของชาติ กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของเสรีนิยมใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนท่าอุเทน ซึ่งเป็นชุนชมชายแดนที่ผู้คนทั้งสองฝั่งโขงมีความสัมพันธ์ยึดโยงกันผ่านเครือญาติ และมีลักษณะร่วมทางชาติพันธุ์เดียวกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ภายหลังหลังสงครามเย็นนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ซึ่งเป็นระบอบชายแดนที่เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ ในการควบคุมกำกับกิจกรรมการค้าชายแดนของผู้คนและสินค้า สะท้อนให้เห็นว่าระบอบการควบคุมชายแดนที่รัฐมุ่งเน้นให้พื้นที่ชายแดนมีความเป็นสากลที่เข้มงวด เป็นการมองพื้นที่ชายแดนแบบแข็งทื่อ (hard border) ที่เน้นเพียงความมั่นคงของรัฐไม่สามารถทำความเข้าใจความซับซ้อนและพลวัตของพื้นที่ชายแดน ผู้เขียนจึงเสนอมุมมองในการทำความเข้าใจวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้การมองพื้นที่ชายแดนแบบยืดหยุ่น (soft border) ที่ไม่อาจละเลยความสำคัญของกฎจารีตท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ยังดำรงอยู่ในพื้นที่ชายแดน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบอบในการควบคุมพื้นที่ชายแดนในแต่ละยุคสมัย  
Author
607080006-4 CPO 1 WANLOP BOONTANANG [Main Author]
Humanities and Social Sciences Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0