ชื่อบทความ |
ทุนของผู้ค้าชายแดนรายย่อยในพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 มกราคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สมาคมหลวงพ่อใหญ่ 39/21 ม.9 ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 |
ISBN/ISSN |
2697-6471 (Online) |
ปีที่ |
6 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
มีนาคม-เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งนำเสนอการใช้ทุนของผู้ค้าชายแดนรายย่อยในพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว ข้อมูลที่ปรากฏในบทความได้มาจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิและจากการทำวิจัยภาคสนาม พื้นที่วิจัย ได้แก่ จุดผ่อนปรนการค้าบริเวณชายแดนไทย-ลาวแห่งหนึ่งในเทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้ค้าชายแดนรายย่อยที่ทำการค้าในแนวชายแดนพื้นที่วิจัยตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ผ่านการแนะนำบอกต่อในลักษณะลูกโซ่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลวิจัยพบว่า ผู้ค้าชายแดนรายย่อยใช้ทุนอย่างหลากหลาย ได้แก่ 1) ทุนเศรษฐกิจ ในรูปของเงินหรือทรัพย์สินที่นำไปลงทุนทำการค้าและสร้างผลกำไร 2) ทุนสังคม ในรูปแบบของเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมนำไปสู่การช่วยเหลือกันของสมาชิกในชุมชน 3) ทุนวัฒนธรรม ในรูปภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการค้าชายแดน และ 4) ทุนสัญลักษณ์ ในรูปของตำแหน่งแห่งที่ในสังคม การได้รับการยอมรับ รวมถึงอำนาจที่มีอยู่ในตัวบุคคล เป็นต้น นอกจากการใช้ทุนในรูปแบบที่หลากหลายแล้ว ผู้ค้าชายแดนรายย่อยยังมีความสามารถในการผันทุนสังคมไปสู่ทุนสัญลักษณ์และทุนเศรษฐกิจ ผลการวิจัยจึงสะท้อนถึงการใช้ทุนในเงื่อนไขและบริบทที่ต่างกัน |
คำสำคัญ |
ทุน; ผู้ค้าชายแดน; การค้าชายแดน; จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|