2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้ากับเส้นใยสังเคราะห์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 มกราคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN : 2774-1281 (Online) 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ กล้วยน้ำว้าเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ปลูกได้ทุกภาคและให้ผลผลิตตลอดปี มีส่วนของลำต้นที่ให้เส้นใยคุณภาพดี แต่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของเส้นใยจากลำต้นกล้วยน้ำว้า (Banana Fibers) เปรียบเทียบกับเส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fibers) ผสมในคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ (Lightweight Cellular Concrete) ความหนาแน่น 1,200 กก./ลบ.ม. กำหนดอัตราส่วนเส้นใย 0.5, 0.7 และ1.0 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความยาวเส้นใย 19 มม. โดยทำตัวอย่างทดสอบขนาดขนาด015X15X15 เซนติเมตร และ30X30X5 เซนติเมตร ทดสอบในห้องปฏิบัติการทดสอบ พบว่าความต้านทานแรงอัดที่ผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้า0.5 (BF10-05) มีค่ากำลังอัด 30.86 กก./ตร.ซม. สูงกว่าคอนกรีตบล็อกมวลเบาฯที่ผสมเส้นใยสังเคราะห์, อัตราการดูดซึมน้ำ เมื่อผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้า0.5 (BF10-05) มีค่าร้อยละ 4.9 น้อยกว่าผสมเส้นใยสังเคราะห์, ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้า0.5 (BF10-05) และเส้นใยสังเคราะห์มีค่าใกล้เคียงกัน และการทดสอบการกักเก็บความร้อนด้วยกล่องทดลองพบว่าคอนกรีตบล็อกมวลเบาผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้า 0.5 (BF10-05) มีค่าการกักเก็บความร้อนที่ต่ำกว่าผนังคอนกรีตบล็อกและอิฐมอญ 1.86 ถึง 8 องศาเซลเซียส เมื่อนำคอนกรีตบล็อกมวลเบาผสมเส้นใยกล้วยน้ำว้า 0.5 (BF10-05) ส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) กำลังขยาย 2000-5000 เท่า สังเกตเห็นการเรียงตัวของเส้นใยกล้วยน้ำว้ากระจายตัว สามารถแทรกเข้าไปในโครงสร้างคอนกรีตมวลเบาฯโดยไม่ทำลายผนังโพรงอากาศภายในของคอนกรีตบล็อกมวลเบาได้ดีเทียบเท่าเส้นใยสังเคราะห์ ส่งผลให้คุณสมบัติทางกายภาพของคอนกรีตบล็อกมวลเบาฯผสมกล้วยน้ำว้ามีผลการทดสอบต่างๆที่ดีกว่าเส้นใยสังเคราะห์ และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.2601-2556 ที่กำหนด  
     คำสำคัญ เส้นใยธรรมชาติ, เส้นใยกล้วยน้ำว้า, คอนกรีตมวลเบา, คอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ  
ผู้เขียน
615200025-1 น.ส. ลัษมณ ประภามณฑล [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0