2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพการฟื้นฟูสภาพเรซินประจุบวกแบบกรดแก่ โดยใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นต่ำ จากน้ำสังเคราะห์น้ำทิ้งของระบบรีเวิร์สออสโมซิส 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 กุมภาพันธ์ 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN E-ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 23 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ น้ำใต้ดินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในชุมชนที่เข้าถึงแหล่งน้ำผิวดินอย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 90 ของน้ำใต้ดินไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อุปโภคและบริโภคโดยตรง เนื่องจากมีความกระด้างของน้ำ และมีค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดสูง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการจัดการหรือบำบัดก่อนที่จะสามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ ทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับการแก้ปัญหาคือ การใช้เทคโนโลยีระบบรีเวิร์สออสโมซิส และการบำบัดขั้นต้นด้วยระบบแลกเปลี่ยนไอออน ซึ่งที่ต้องจัดการในด้านการใช้ปริมาณสารเคมีในการล้างทำความสะอาด การอุดตันของเมมเบรน ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนประจุของเรซินที่ลดลงจากการที่น้ำดิบมีค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดสูง และการจัดการน้ำทิ้งที่มีค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดสูง เพื่อที่จะนำเสนอแบบจำลองที่สามารถการคาดการณ์ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบ และคุณภาพน้ำได้แบบทันที การวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการศึกษาแบบจำลองการในการเดินระบบโดยศึกษาผลกระทบของค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดต่อประสิทธิภาพการกำจัดความกระด้างในน้ำของเรซิน และการศึกษาการสังเคราะห์น้ำทิ้งจากกระบวนการรีเวิร์สออสโมซิสที่มีค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำที่มีความเข้มข้นต่ำมาใช้ในการฟื้นฟูสภาพเรซิน จากการศึกษาพบว่า ค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการกำจัดความกระด้างของเรซิน ด้วยการเพิ่มค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดจาก 0-7,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ประสิทธิภาพการกำจัดความกระด้างของเรซินจะลดลงจากร้อยละ 100 ถึงร้อยละ 48.31 เป็นต้น และจากการศึกษาประสิทธิภาพการฟิ้นฟูสภาพเรซิน โดยการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์จาก 5,000 เป็น 20,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าประสิทธิภาพการฟิ้นฟูสภาพเรซิน (% Ca2+ Recovery) จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ประสิทธิภาพการฟิ้นฟูสภาพเรซินถึงร้อยละ 100 และประสิทธิภาพการฟิ้นฟูสภาพเรซินจะลดลงเมื่อมีการใช้ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ลดลง ซึ่งจากการศึกษาถึงผลกระทบของค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ต่อประสิทธิภาพการกำจัดความกระด้างในน้ำของเรซิน และต่อประสิทธิภาพการฟิ้นฟูสภาพเรซิน จะทราบได้ถึงแบบจำลองการเดินระบบที่จะช่วยคาดการณ์ประสิทธิภาพการกำจัดความกระด้างของเรซิน และการฟื้นฟูสภาพเรซินจากน้ำทิ้งของกระบวนการแยกเกลือในระบบรีเวิร์สออสโมซิสได้ทันที 
     คำสำคัญ น้ำใต้ดิน การแลกเปลี่ยนไอออน รีเวิร์สออสโมซิส  
ผู้เขียน
625040059-5 นาย สุทธิเกียรติ มีศรีสม [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0