2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 กุมภาพันธ์ 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ (Dhammathas Academic Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2697-6676 
     ปีที่ 23 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 13 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แง่มุมการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คนและทีมการศึกษาชั้นเรียนของโรงเรียน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกภาคสนามแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกภาคสนามการสังเกตชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 3) แบบบันทึกภาคสนามการสะท้อนผลชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 4) ใบกิจกรรมของนักเรียนและสมุดบันทึกของนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดการประเมินทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2561, 2564) และกรอบแนวคิดแง่มุมการประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Earl, 2013) ผลการวิจัยพบว่า ชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดพบแง่มุมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ในขั้นตอนการวางแผนการสอนร่วมกัน (Plan) ในรูปแบบของการนำข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับทศนิยมในการออกแบบการสอนและสร้างเครื่องมือการประเมินโดยการสร้างสถานการณ์ปัญหา นำข้อมูลการแก้ปัญหาที่หลากหลายของทีมการศึกษาชั้นเรียนและข้อมูลการแสดงแนวคิดของนักเรียนนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการสอน รวมถึงวางตำแหน่งในการสังเกตการแก้ปัญหาของนักเรียนเพื่อนำข้อมูลไปสะท้อนผล (See) และพัฒนาแผนการสอน และแง่มุมการประเมินตนเองของนักเรียนในฐานะเจ้าของการเรียนรู้ (Assessment as Learning) ในขั้นตอนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด (Do) มีลักษณะการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมสถานการณ์ปัญหาตามมุมมองของตนเองและนำปัญหาของตนเองกลับไป นักเรียนจะมีช่วงเวลาในการแก้ปัญหาของตนเองด้วยตนเองในระยะเวลาหนึ่งจนสามารถนำปัญหาของตนเองเข้าร่วมอภิปรายและตรวจสอบแนวคิดของตนเองและเพื่อน จนสามารถเห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของแนวคิดนำกลับมาปรับปรุงพัฒนาแนวคิดของตนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  
     คำสำคัญ การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การศึกษาชั้นเรียน วิธีการแบบเปิด 
ผู้เขียน
625050030-3 นาย พสธร มีแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0