2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการรักษาของเทคนิคพอซเชอะ-เบรธในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Therapeutic Effects of Posture-Breath Technique in Patients with Scapulocostal Syndrome: A Randomized Controlled Trial)  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารกายภาพบำบัด 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย  
     ISBN/ISSN 0125-4634  
     ปีที่ 45 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า
     บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญ: กลุ่มอาการสะบักจมเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ที่มีพยาธิกำเนิดซับซ้อน ปัจจุบันยังไม่มีการสรุปชัดเจนถึงวิธีการรักษามาตรฐาน จากพื้นฐานทางชีวกลศาสตร์พบว่า กลุ่มกล้ามเนื้อสะบักที่ปวด ส่วนหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อทรงท่า ซึ่งมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ การทรงท่า และการหายใจ ผู้วิจัยจึงออกแบบวิธีการ ออกกำลังกายสะบักร่วมกับการหายใจ หรือเทคนิคพอซเชอะ-เบรธ เพื่อพิสูจน์ผลการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจมเกี่ยวกับการลดปวด และการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างเทคนิคพอซเชอะ-เบรธ และการออกกำลังกายทั่วไปสำหรับกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่ออาการปวด และความแปรผันของอัตราการเต้นหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม จำนวน 47 คน สุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มย่อยแบบภาคชั้น ออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งได้รับการรักษาพื้นฐานทางกายภาพบำบัดเหมือนกัน (แผ่นประคบร้อน และคลื่นเหนือเสียง) แต่แตกต่างกันเพียงชนิดการออกกำลังกาย คือ เทคนิคพอซเชอะ-เบรธ และการออกกำลังกายทั่วไป ตามลำดับ เวลาและความถี่ของการรักษาแต่ละกลุ่มคือ 46 นาที ต่อหนึ่งครั้ง และ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ระดับกั้นความปวด ระดับอาการปวดขณะพัก ระดับอาการปวดเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และความแปรผันของอัตราการเต้นหัวใจ โดยประเมินก่อน และหลังการรักษาครั้งแรก และหลังการรักษาครั้งสุดท้าย (สัปดาห์ที่ 3) การวิเคราะห์ภายในกลุ่มและผลความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาใช้สถิติ Mixed-model ANOVA ผลการวิจัย: เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม กลุ่มพอซเชอะ-เบรธ มีระดับกั้นความปวดเพิ่มขึ้นเฉพาะผลระยะสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนระดับอาการปวดขณะพัก และระดับอาการปวดเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ของทั้งสองกลุ่ม เริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่หลังการรักษาครั้งแรก สำหรับค่าความแปรผันของอัตราการเต้นหัวใจ มีเพียงผลทันทีของกลุ่มพอซเชอะ-เบรธ ที่มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าตัวแปรทุกค่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปผล: การรักษาพื้นฐานทางกายภาพบำบัดร่วมกับเทคนิคพอซเชอะ-เบรธ สามารถเพิ่มระดับกั้นความปวดที่ผลระยะสั้น ลดระดับอาการปวดตั้งแต่หลังการรักษาครั้งแรก และไม่กระทบต่อความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม ทั้งนี้ผลการรักษาทั้งหมด ยกเว้นระดับกั้นความปวด ไม่แตกต่างจากการรักษาพื้นฐานทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายทั่วไป Background: Scapulocostal syndrome (SCS) is chronic pain with complex pathogenesis, which currently has no standard treatment. From Biomechanics, some scapular muscles are postural muscles, which act as both postural control and breathing. Posture-breath technique (PBT) was designed for pain reduction and autonomic nervous system (ANS) balancing in patients with SCS. Objective: To evaluate the effectiveness of PBT compared with general exercise (GEN) in patients with SCS, on pain alteration and heart rate variability (HRV). Methods: Forty-seven patients with SCS were divided by stratified block randomization into 2 groups, which received similar usual physical therapy care (hot pack and ultrasound) but differed in exercise program (PBT or GEN). Each group's time and frequency of treatment were 46 minute/session and 3 sessions/week within 3 weeks. Pressure pain threshold (PPT), visual analog scale (VAS), average pain intensity within previous 24 hours (24hrVAS), and HRV were assessed before, after the first, and last treatment. Mixed-model ANOVA was used to determine differences within and between groups in each three-time point. Results: Comparing within group, PBT group showed significantly increased PPT-only short-term effects (p<0.05). VAS and 24hrVAS in both groups start to decrease significantly after the first treatment. For HRV, the only immediate effect in PBT group was a significant increase. However, all outcome measures in both groups showed no significant difference (p>0.05). Conclusion: PBT group can increase PPT at short-term effects, reduced pain intensity after the first treatment, and no disrupted balancing of ANS in patients with SCS. However, all therapeutic effects, except PPT, were not different from GEN group.  
     คำสำคัญ กลุ่มอาการสะบักจม, อาการปวดกล้ามเนื้อและผังผืด, การออกกำลังกายร่วมกับการหายใจ, Scapulocostal syndrome, Myofascial pain syndrome, Postural respiration technique, Exercise, Breathing exercise.  
ผู้เขียน
635090004-1 นาย ภาคภูมิ เจริญวิภาส [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0