Title of Article |
ผลทันทีของการรักษาด้วยการเคลื่อนไหวแบบมีสติร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อกะบังลมต่อการเปลี่ยนแปลงอาการปวดและระดับคอร์ติซอลในผู้ป่วยที่มีอาการสะบักจม |
Date of Acceptance |
16 February 2023 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารกายภาพบำบัด |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
|
Issue |
|
Month |
|
Year of Publication |
2023 |
Page |
|
Abstract |
ที่มาและความสำคัญ: แม้ว่ายังไม่มีการสรุปถึงวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม แต่นักกายภาพส่วนใหญ่นิยมใช้การรักษาสองทิศทาง เนื่องจากกลุ่มอาการสะบักจมเป็นอาการปวดเรื้อรัง จึงส่งผลทั้งความผิดปกติทางกายและทางจิตใจ และมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดได้ การพัฒนาแนวทางการรักษาการเคลื่อนไหวบำบัดแบบมีสติจึงอาจมีผลในการปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทันทีของการเคลื่อนไหวบำบัดแบบมีสติและหัตถบำบัดร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อกะบังลม และเปรียบเทียบผลทันทีระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเคลื่อนไหวบำบัดแบบมีสติและหัตถบำบัดร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อกะบังลมและกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการยืดกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักด้วยตนเองที่มีต่อ ระดับอาการปวด ระดับกั้นความเจ็บปวด และระดับคอร์ติซอลในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม
วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม จำนวน 38 คน ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองรักษาด้วยการเคลื่อนไหวบำบัดแบบมีสติและหัตถบำบัดร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อกะบังลมและกลุ่มควบคุมได้รับการยืดกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักด้วยตนเอง ทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาเป็นเวลา 30 นาที อาสาสมัครได้รับการตรวจประเมินระดับอาการปวด ระดับกั้นความเจ็บปวด และระดับคอร์ติซอล ก่อนการรักษาและหลังการรักษาทันที ประเมินผลก่อนและหลังการรักษาภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired samples t-test และสถิติ Wilcoxon Sign rank test ประเมินผลความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ independent t-test และสถิติ Mann Whitney U test
ผลการวิจัย: การเปรียบเทียบผลภายในกลุ่มพบว่าระดับอาการปวดและระดับคอร์ติซอลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม (p<0.05) ในขณะที่ระดับกั้นความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในกลุ่มทดลอง (p<0.05) อย่างไรก็ตามระดับของอาการปวดและระดับกั้นความเจ็บปวดไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (p>0.05) ในขณะที่ระดับคอร์ติซอลในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุปผล: การเคลื่อนไหวบำบัดแบบมีสติและหัตถบำบัดร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อกะบังลมมีผลทันทีในการลดระดับอาการปวดระดับคอร์ติซอล และเพิ่มระดับกั้นความเจ็บปวด และการรักษานี้มีผลทันทีในการลดระดับคอร์ติซอลดีกว่าการยืดกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักด้วยตนเอง
|
Keyword |
กลุ่มอาการสะบักจม, การเคลื่อนไหวแบบมีสติ, การฝึกกล้ามเนื้อกะบังลม, ความเครียด |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|