2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลลัพธ์ของการนำรูปแบบการฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล ในหลักสูตรรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วาสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมาายน 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 13 หน้า แต่ยังไม่มีเล่มจริง จึงไม่มีสารบัญ 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด และในบทความนี้จะนำเสนอเฉพาะในขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของหลักสูตรรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัดในระยะเวลา 3 วัน กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 32 คน ของมหาวิทยาลัยชอนแก่น ที่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 โดยวันแรกเป็นการสอนในคลินิก วันที่ 2 แบ่งนักศึกษาเข้าห้องผ่าตัด 4 คน ให้ฝึกกับพยาบาลห้องผ่าตัด 2 คน ฝึกกับวิสัญญีพยาบาล 2 คน และในวันที่ 3 ให้นักศึกษาฝึกสลับบทบาทกันในห้องเดิม โดยผลลัพธ์ของการนำหลักสูตรไปใช้ที่วัดจากนักศึกษาได้แก่ 1) จำนวนครั้งของการได้ปฏิบัติกิจกรรมจำเป็นพื้นฐาน 2) ความถูกต้องของการปฏิบัติ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติก่อนกับหลังการเข้าฝึก 4) การประเมินทักษะปฏิบัติทางคลินิก (objective structured clinical examination: OSCE) และ 5) ความพึงพอใจต่อการฝึกปฏิบัติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (pre-experimental Designs) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งในการได้ปฏิบัติของนักศึกษา 3.07 ครั้งต่อคน (X ̅ =3.07, SD=0.69) และค่าเฉลี่ยความถูกต้องการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (X ̅=3.56, SD=0.49) ความคิดเห็นนักศึกษาก่อนฝึกเห็นด้วยปานกลาง (X ̅=3.24, SD=0.57) หลังฝึกเห็นด้วยมากที่สุด (X ̅=4.94, SD=0.16) คะแนนการประเมินทักษะทางคลินิก (objective structured clinical examination: OSCE) ภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี (X ̅=3.38, SD=0.26) ทั้ง 4 กลุ่ม (X ̅=3.41, 3.39, 3.32, 3.40 SD=0.27, 0.27, 0.24, 0.25) ตามลำดับ และระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาและบุคลากรต่อกิจกรรมจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.96, SD=0.12) (X ̅ =5.00, SD=0.00) ตามลำดับ สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ การจัดการเรียนการสอนในห้องผ่าตัดแบบ 3 วัน สามารถเสริมทักษะปฏิบัติแก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสำหรับสถาบันการศึกษาที่ผลิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เพื่อเพิ่มประสบการณ์และทักษะปฏิบัติที่ครบถ้วน สมบูรณ์มากขึ้น คำสำคัญ: หลักสูตรปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด, พยาบาลห้องผ่าตัด, วิสัญญีพยาบาล  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: หลักสูตรปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด, พยาบาลห้องผ่าตัด, วิสัญญีพยาบาล 
ผู้เขียน
607050024-0 นาง ดวงสุดา สุวรรณศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0