2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปลี่ยนแปลงของความทันสมัยภายใต้อิทธิพล ของทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลฯ ในตึกแถว 2 ชั้น 7 คูหาริมถนนหลวง จังหวัดอุบลราชธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤษภาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย Built Environment Inquiry BEI  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ ปีที่ 17  
     ฉบับที่ ฉบับที่่่่่่่ 2  
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 25-43 
     บทคัดย่อ ความทันสมัยที่เกิดจากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมในชาติตะวันตก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงประเทศไทยเริ่มมีการรับความทันสมัยนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จากการทำสนธิสัญญา เบาว์ริง มีการเปิดการค้าเสรี และมีการปรับเปลี่ยนสังคมตามปัจจัยต่างๆ ที่มุ่งสู่ความทันสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน รัชกาลที่ 5 เริ่มมีการปฏิรูปการปกครอง เกิดแนวคิดสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2473 (รัชกาลที่ 7) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหลายมิติ อย่างกรณีศึกษาตึกแถว 2 ชั้น 7 คูหา บนถนนหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่สะท้อนให้เห็นความแตกต่างทั้งก่อนและหลังการมาของเส้นทางรถไฟ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ เทคนิคการก่อสร้าง วัสดุ ทั้งก่อนและหลังการมาของทางรถไฟ ผ่านพัฒนาการการก่อสร้างตึกแถว ด้วยวิธีการลงพื้นที่ภาคสนาม ค้นคว้า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า จากปรากฏการณ์การดังกล่าว ที่เชื่อมโยง กับแนวคิดความทันสมัย (MODERNIZATION) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม หรือค่านิยมของผู้คนที่ต่างพยายามปรับตัวหรือยอมรับสิ่งใหม่เข้ามาใช้ในวิถีชีวิต ซึ่งการก่อตัวในช่วงแรก 4 คูหา แสดงถึงค่านิยม คติความเชื่อ รวมไปถึงการพกพาสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวจีนอย่างก๋งตั๊บซึ่งเป็นเจ้าของ อาคารสู่การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทปัจจัยต่างๆ โดยรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างที่ยังคงเป็น แนวคิดแบบจีนผสมตะวันตก รวมไปถึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่เข้ามาภายในย่านที่สะท้อนผ่าน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง แต่หลังจากเส้นทางรถไฟมาถึงอุบลราชธานี มีแนวคิดการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 3 คูหา ในช่วงที่ 2 เพื่อรองรับกิจกรรมการค้าและอยู่อาศัยโดยเกิดเทคนิคและกระบวนการก่อสร้างด้วยวัสดุใหม่ๆ และมีความ ทันสมัยมากขึ้น ขณะที่รูปแบบของอาคารมีความต่อเนื่องจากช่วงแรก หากแต่ว่าลวดลายบางส่วนลดความปราณีตลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านจากความเชื่อในระบบสังคมจารีตสู่ความเรียบง่ายหรือความเป็นสมัยใหม่ ส่วนใน มิติเศรษฐกิจ สังคม มีความหลากหลายของสินค้าและผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาภายในย่านเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นมิติของความทันสมัยต่างช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัว ทั้งทางด้าน กายภาพ ที่มีทั้งการปรับรูปแบบ วัสดุ และเทคนิคกระบวนการก่อสร้าง หรือแม้แต่การปรับใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อให้ สอดคล้องต่อมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมหรือค่านิยมที่เปลี่ยนไป 
     คำสำคัญ ความทันสมัย ตึกแถว ทางรถไฟ อุบลราชธานี 
ผู้เขียน
597200001-7 น.ส. กิตติกานต์ พรประทุม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0