2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 กรกฎาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ ส.อ.ป. ปีที่ 30 ประจำปี 2565 (OHSWA Conference 2022) **OH&S Challenges in the world of future technologies and sustainability** 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทางาน  
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์  
     จังหวัด/รัฐ นนทบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กรกฎาคม 2565 
     ถึง 26 กรกฎาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 5  
     Issue (เล่มที่) 1  
     หน้าที่พิมพ์ 61-67  
     Editors/edition/publisher วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 294 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่พนักงานสามารถตอบได้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบประเมินความรู้สึกไม่สบายจากการทำงานด้านความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ แบบประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานของท่านั่งหรือท่ายืนทำงานซึ่งประยุกต์มาจากแบบประเมิน RULA และ REBA พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกความเสี่ยงที่พิจารณาโอกาส (ความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (การรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีระดับความรู้สึกไม่สบายของร่างกายสูงสุด คือ บริเวณไหล่ (ร้อยละ 36.05) รองลงมาเป็นหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 30.95) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 30.27) ตามลำดับ ความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานด้วยท่ายืน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.40) รองลงมาคือ ระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 41.40) และระดับเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 10.50) ตามลำดับ ในขณะที่การทำงานด้วยท่านั่ง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 52.40) รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 24.50) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 5.30) ผลการวิเคราะห์เมตริกความเสี่ยงความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พบว่า พนักงานมีความเสี่ยงในระดับสูง ( ร้อยละ 47.63) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 43.19) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 7.48) เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับสูง จึงควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน โดยการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ และมีการปรับปรุงสถานีงานให้มีความเหมาะสม ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ในอนาคต  
ผู้เขียน
635110076-7 น.ส. กษมา คงประเสริฐ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลชมเชย Best Posters Presentation 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทางาน  
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 26 กรกฎาคม 2565 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum