Title of Article |
โลกทัศน์กับความเป็นพลเมืองเชิงซ้อนจากข้างล่างของครอบครัวข้ามแดนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว |
Date of Acceptance |
29 March 2023 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
19 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม - มิถุนายน |
Year of Publication |
2023 |
Page |
|
Abstract |
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของครอบครัวข้ามแดนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ต่อการประกอบสร้างความเป็นพลเมืองเชิงซ้อนจากข้างล่าง เพื่อต่อรอง กับความเป็นพลเมืองเชิงเดี่ยวของรัฐชาติที่ยึดแต่กฎหมาย ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางศึกษาปรากฏการณ์วิทยา ใช้หน่วยวิเคราะห์ระดับครอบครัว เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต ในระหว่างเดือนเมษายน 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 50 คน ประกอบด้วย ตัวแทนครอบครัวข้ามแดน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐและนักพัฒนาเอกชน ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวข้ามแดนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว มีพัฒนาการ 3 ยุค คือ ยุคดั้งเดิม ยุคสงคราม และยุคทุนนิยมชายแดน ครอบครัวข้ามแดนมี 4 รูปแบบ คือ สามีไทยภรรยาลาว สามีลาวภรรยาไทย สามีไทยภรรยาลาวคนที่สอง และสามีไทยภรรยาลาวหลายคน ทั้งหมดไม่ได้แต่งงานตามกฎหมายไทยและลาว ทำให้สมาชิกในครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคนไม่มีสถานะความเป็นพลเมืองทางกฎหมายของไทย กลายเป็นกลุ่มคนข้างล่างที่ด้อยสิทธิและอำนาจ จนต้องประกอบสร้างความเป็นพลเมืองเชิงซ้อนจากข้างล่าง เพื่อต่อรองกับความเป็นพลเมืองของรัฐชาติ ผ่านปฏิบัติการใช้วิถีชีวิตสองถิ่นที่ในฝั่งไทยและฝั่งลาว ภายใต้โลกทัศน์ความเป็นคนสองฝั่งโขง ความเป็นลูกหลานพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ และความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ไทย ด้วยปรารถนาให้ครอบครัวเข้าถึงทรัพยากร รวมทั้งสิทธิและสวัสดิการ เพื่อสร้างความมั่นคงและลดความเสี่ยง ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้บริบทที่เส้นเขตแดนรัฐชาติเปิดกว้าง และโลกที่เชื่อมโยงถึงกันจากโลกาภิวัตน์ |
Keyword |
โลกทัศน์ ความเป็นพลเมืองเชิงซ้อนจากข้างล่าง ครอบครัวข้ามแดน วิถีชีวิตสองถิ่นที่ ชุมชนชายแดน |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|