2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความปรารถนากับวิถีชีวิต “สองถิ่นที่” ของครอบครัวข้ามแดนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 2 "คลี่-คลาย-ญ่่าย-เคลื่อน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดอุบลราชธานี  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 พฤศจิกายน 2563 
     ถึง 21 พฤศจิกายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 303-330 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร.วัชรี ศรีคำ (บรรณาธิการ) 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปรารถนาในการใช้ชีวิต “สองถิ่นที่” ของครอบครัวข้ามแดนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางปรากฏการณ์วิทยา เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 50 คน ประกอบด้วย ครอบครัวข้ามแดน 30 คน ผู้นำชุมชน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน 10 คน ซึ่งคัดเลือกอย่างเจาะจง จากการแนะนำต่อแบบลูกโซ่ ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวข้ามแดนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง ส่วนมากเกิดขึ้นจากการแต่งงานระหว่างผู้ชายชาวไทยกับผู้หญิงชาวลาว ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยา บางกรณีมีการแต่งงานตามประเพณี แต่ไม่ได้จะทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยและลาว วิถีการดำเนินชีวิตของครอบครัวเหล่านี้เป็นแบบ “สองถิ่นที่” คือใช้ชีวิตทั้งในชุมชนฝั่งไทยและฝั่งลาว ภายใต้โลกทัศน์มองชายแดนเป็นพื้นที่แห่งการดำรงชีพ มากกว่าที่จะเห็นเป็นเส้นเขตแดนของรัฐชาติ ครอบครัวข้ามแดนจึงได้ต่อสู้ ต่อรองกับอำนาจรัฐชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอื้อให้ครอบครัวของตนสามารถผลิตและเชื่อมต่อความปรารถนา ด้วยเจตจำนงแห่งความปรารถนาที่จะมีเสรีภาพในการดำรงชีวิตข้ามแดนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขณะเดียวกันรัฐชาติก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาอำนาจของตนเหนือเส้นเขตแดนอยู่เสมอ ผ่านการควบคุมกลไกและระเบียบกฎเกณฑ์ขององค์กรและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ก็ไม่ได้มีความเป็นเอกภาพมากนักทั้งในส่วนท้องถิ่น ภูมิภาค และรัฐส่วนกลาง ท่ามกลางการโหมกระหน่ำของระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัตน์ในพื้นที่ชายแดนไทยและลาว  
ผู้เขียน
597080006-3 นาย พลวิเชียร ภูกองไชย [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0