2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 เมษายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ปัญญาพัฒน์ 
     ISBN/ISSN 2773-9805 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ 2) ระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบก่อนทดลอง ศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (The One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการฝึกอบรม จำนวน 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะ แบบวัดเจตคติ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจ ภายหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (¯X = 4.29, SD. = 0.25) มีเจตคติหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ระดับความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯ ของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย (¯X= 4.71, SD. = 0.33) ด้านที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านเนื้อหา ของหลักสูตร คะแนนเฉลี่ย (¯X = 4.81, SD. = 0.32) ด้านกระบวนการเรียนรู้ในการอบรม คะแนนเฉลี่ย (¯X = 4.73, SD. = 0.34) และด้านการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการทำงาน คะแนนเฉลี่ย (¯X = 4.70, SD. = 0.39) ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษในแต่ละพื้นที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนและนักสหวิชาชีพเพื่อพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูสภาพเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
     คำสำคัญ หลักสูตรฝึกอบรม การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การศึกษาพิเศษ ครู 
ผู้เขียน
645050219-5 นาย วุฒิชัย ใจนะภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum