2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความรู้ความเข้าใจและบทบาทของชุมชนในการบริหารงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช 
     ISBN/ISSN 2630-0362 (online) 2586-923× (print) 
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 377-392 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของชุมชนรอบแนวเขต อุทยานแห่งชาติน้ำพอง 2. ศึกษาบทบาทของชุมชนในการบริหารงานด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนรอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติน้ำพอง 3. ทราบผลของการ บริหารงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติน้ำพองผ่านเครือข่ายชุมชน เป็นการวิจัยเชิง ปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยอยู่บนเส้นทางเข้าที่ทำการอุทยาน แห่งชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจของชุมชนรอบ แนวเขตอุทยานแห่งชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แสดงผลการวิจัยเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูล ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 - 50 ปีมีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท ส่วนใหญ่มีระยะเวลาใน การอาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 15 ปี และไม่ได้เป็นสมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติน้ำพอง ในภาพรวม มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก 2. บทบาทของ ชุมชนในการบริหารงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนรอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติน้ำพอง อยู่ในระดับปานกลาง และ 3. ผลของการบริหารงานด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติน้ำพองผ่านเครือข่ายชุมชน การที่เครือข่ายชุมชนเข้ามามีบทบาทในการ บริหารงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลต่อการบริหารงานในระดับมากที่สุด สามารถลดความขัดแย้งระหว่างคนกับป่าได้มีผลต่อการบริหาร การดำเนินงานร่วมกันระหว่าง ชุมชนและอุทยานแห่งชาติจะสามารถช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการดำรงชีวิต ตามวิถีชุมชนได้  
     คำสำคัญ ความรู้ความเข้าใจ บทบาทของชุมชน การบริหารงาน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติน้ำพอง  
ผู้เขียน
635280010-8 นาย ชาติบัญชา เพชรสุก [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0