2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title แนวทางการรีไซเคิลฝาขวดวัคซีนเหลือใช้จากสถานการณ์โควิด-19สู้การผลิตเครื่องประดับ 
Date of Distribution 4 September 2022 
Conference
     Title of the Conference "ศิลปกรรมวิจัย" ประจำปี 2565 ศิปล์ท้า เวลา ท้าศิลป์ 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place อุทยาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 3 September 2022 
     To 4 September 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 340-350 
     Editors/edition/publisher ฝาวัคซีน, รีไซเคิล, เครื่องประดับ 
     Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลฝาขวดวัคซีนเหลือใช้จากโรงพยาบาลและศึกษากระบว นการแปรรูปอลูมิเนียมและกระบวนการผลิตเครื่องประดับเพื่อทดลองสร้างสรรค์เครื่องประดับรีไซเคิลจากฝาข วดวัคซีน เนื่องด้วยจากสถานการณ์โควิด- 19ที่แพร่ระบาดทำให้มีการใช้วัคซีนเพิ่มมากขึ้นจากเดิมหลายเท่าตัวทำให้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะทดลองรีไซเคิลขย ะจากขวดวัคซีน โดยได้เลือกรีไซเคิลเฉพาะฝาขวดวัคซีนที่วัสดุเป็นอลูมิเนียมเพราะเป็นวัสดุมีจุดหลอมเหลวที่ไม่สูงมากสามารถ นำมาแปรรูปได้ง่าย และเนื่องจากเครื่องมือของทางผู้วิจัยมีจำกัดจึงต้องเลือกวัสดุให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพื่อทำการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลและเก็บตัวอย่างวัสดุฝาขวดวัคซีนและนำตัวอย่างอลูมิเนียมจากฝาขวดวัคซี นที่ได้ไปทดสอบสมบัติทางกายภาพของอลูมิเนียมที่แปรรูปจากฝาขวดวัคซีนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั่นจึงได้ทดลองสร้างสรรค์ขึ้นรูปให้เป็นเครื่องประดับ ผลการศึกษาการแปรรูปอลูมิเนียมและทดลองขึ้นรูปเครื่องประดับจากฝาขวดวัคซีนผลที่ได้คือ การขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อยังไม่สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์ได้ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้วิจัยไม่มีความชำ นาญมากพอและปัจจัยในเรื่องของเครื่องมือจึงทำให้อุณหภูมิระหว่างแม่พิมพ์และน้ำโลหะไม่สัมพันธ์กันทำให้น้ ำโลหะไหลลงไปในแม่พิมพ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ชิ้นงานขาดความสมบูรณ์ ผู้วิจัยจึงใช้การขึ้นรูปด้วยมือมาช่วยในการทำงานเพื่อให้ชิ้นงานมีความสมบูรณ์มากขึ้นโดยการใช้เครื่องมือของ ช่างทำเครื่องประดับขึ้นรูปโดยการรีด การดัด การเชื่อม เพื่อให้ได้ชิ้นงานทดลองที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยในการทดลองสร้างสรรค์เครื่องประดับจำนวน 1ชุด ประกอบด้วยสร้อยคอ กำไลข้อมือ โดยการเลือกรูปแบบที่นำมาใช้สร้างสรรค์เครื่องประดับนั่นคำนึงถึงความสอดคล้องกับการผลิตเป็นหลักเพื่อที่จ ะสามารถผลิตผลงานออกมาได้จริงโดยได้เลือกรูปแบบเป็นแนวสตรีทเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะ ช่วยลดขยะและเห็นคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะของชาวเคลท์(Celtic)เพราะมีลักษณะเป็นเส้นสายถักทอกันจนเกิดรูปร่างสอดคล่อง กับการผลิตที่ผู้วิจัยสามารถผลิตได้และศิลปะของชาวเคลท์(Celtic)ก็ได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบแนวสตรี ทเป็นอย่างมาก  
Author
635200019-8 Mr. CHARKRIT ENGCHANIL [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0