2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยชุมชนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: สถานการณ์การจัดการในบริบท สังคม วัฒนธรรมภาคกลาง ของประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 เมษายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN 2697-5912 
     ปีที่ 17 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง (Focused ethnography) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภาวะฉุกเฉินโดยชุมชนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่และสถานการณ์การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยชุมชนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 132 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรท้องที่ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการสุขภาพ และภาคประชาชน 2) ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานศึกษา ที่ว่าการอำเภอ รวมทั้งสิ้น 140 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม บันทึกภาคสนาม และศึกษาเอกสาร ความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปผลการศึกษา 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรมความเชื่อของพื้นที่ ดังนี้ 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) สถานการณ์การติดเชื้อ 3) ลักษณะบริบทพื้นที่ และ 4) วัฒนธรรมการดำเนินงาน ได้แก่ (1) การระดมทุน ระดมแรง (2) การทำงานรูปแบบจิตอาสา (3) ระบบการจัดการเน้นสร้างการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม สร้างความเป็นเจ้าของ (4) การบริหารจัดการมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ส่วนที่ 2 การจัดการโดยชุมชนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบการจัดการ 6 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) การบริหารงานและกิจกรรมตามวงจรการระบาด 2) หน่วยงานองค์กรที่ร่วมจัดการ 3) การทำงานการแก้ปัญหาการจัดการ 4) การปฏิบัติการตอบสนองปฏิกิริยาของประชาชน 5) การประเมินการจัดการในอนาคต และ6) การวางแผนการแก้ไขปัญหา This focused ethnography study aimed to study the situation of community emergency management in a case study of the coronavirus disease 2019 pandemic according to the social and cultural context of the area, where data were collected from two groups of informants namely 1) 132 key informants consisting of representatives from local government organizations, local organization, health service officer, and public sector 2) 8 general informants consisting of representatives from district health offices, educational institutes, district offices. The data were collected by participant observations, in-depth interviews, group discussions, and document study. The verify accuracy of the data by using a triangulation validation method and subsequently analyzed by content analysis. The results of the study were summarized in two parts: Part 1 studied the socio-cultural context and beliefs of the area as follows: 1) the situation of the spread of the Coronavirus Disease 2019 in the area, 2) the situation of infection in the area, 3) the characteristics of the context area, and 4. ) operational culture in the area, including (1) fundraising, mobilization (2) volunteer work (3) network management system creating learning participation creating ownership and (4) management that focuses on maximizing the benefits of the people. Part 2: Community emergency management in a case study of the Coronavirus Disease 2019 pandemic, there were 6 types of management, consisting of 1) management and activities according to the epidemic cycle, 2) co-management organizational units, 3) work management solutions, 4) people reaction response operations, 5) future management assessment, and 6) problem-solving planning.  
     คำสำคัญ การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยชุมชน, สถานการณ์การจัดการภาวะฉุกเฉิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Community Emergency Management, Situations of Emergency Management, Coronavirus Disease 2019 
ผู้เขียน
617060003-3 นาย วิวินท์ ปุรณะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0