2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การเฝ้าระวังทางการแพทย์ตามมาตรฐาน OSHA ประเทศสหรัฐอเมริกา: การศึกษา ในโรงงานการผลิตขนาดใหญ่ เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประเทศไทย 
Date of Acceptance 24 April 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Journal of Medicine and Health Sciences) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     ISBN/ISSN ISSN : 2561-1886 (Print), ISSN : 2561-2084 (Online) 
     Volume 30 
     Issue
     Month สิงหาคม
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract การออกแบบโปรแกรมเฝ้าระวังทางการแพทย์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงานในกลุ่มลูกจ้าง ในอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานสัมผัสสารเคมี โดยโปรแกรมดังกล่าวครอบคลุมทั้งสิ้น 14 ขั้นตอนหลัก โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีบทบาทสำคัญ ในขณะที่แนวปฏิบัติขององค์กร OSHA ของสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างแนวปฏิบัติได้ครบถ้วนทั้งหมด ในขณะที่กฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศไทยนั้นขาดองค์ประกอบที่สำคัญบางประการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างหรือด้านการค้าระดับสากลได้ วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อหาสัดส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตขนาดใหญ่ที่มีการใช้สารเคมีซึ่งสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมเฝ้าระวังทางการแพทย์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานองค์กร U.S.OSHA 2) ศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการมีแพทย์และไม่มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์กับการผ่านมาตรฐาน U.S.OSHA การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาในโรงงานที่ตั้งในจังหวัดระยอง ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา(พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปี 2022 ขนาดตัวอย่าง 190 โรงงาน วิธีการวิจัยอาศัยการทบทวนวรรณกรรมเพื่อพัฒนาแบบสอบถามที่มี 38 ข้อโดยมีการทดสอบความถูกต้องของเนื้อหาและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และส่งแบบสอบถามให้โรงงานโดยผู้ตอบที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโปรแกรมเฝ้าระวังทางการแพทย์ ผลการวิจัยพบมีเพียง 3.4% (95%CI: 1.1-8.9) ของโรงงานปฏิบัติอย่างน้อย 8 ขั้นตอนจาก 14 ขั้นตอนที่สำคัญของโปรแกรม โดยสามขั้นตอนที่โรงงานปฏิบัติตามมาตรฐานได้ค่อนข้างต่ำ ได้แก่ 1) การออกแบบรายการตรวจเพื่อติดตามสุขภาพ 12.6% (95%CI: 6.9-20.8) 2) การเดินสำรวจค้นหาสารเคมี 25.3% (95%CI: 17.1-35.1) และ3) การจัดเก็บข้อมูลโดยแยกตามชนิดสิ่งคุกคาม 29.9% (95%CI: 21.0-40.0) โดยปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรฐานได้น้อยมีหลายอย่าง เช่น ขาดการตระหนักรู้อันตรายจากสารเคมี, ข้อบังคับกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่บังคับใช้มีความแตกต่างในรายละเอียดระหว่างกฎหมายไทยและมาตรฐาน U.S.OSHA, ความซับซ้อนของการออกแบบโปรแกรมซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ โดยการมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เข้าร่วมสามารถเพิ่มอัตราการปฏิบัติตามมาตรฐาน U.S.OSHA มากขึ้นในบางขั้น เช่น การเดินสำรวจค้นหาสารเคมี (OR 4.33, 95%CI 1.56-12.51, P=0.003) และการออกแบบรายการตรวจเพื่อติดตามสุขภาพ (OR 20.71, 95%CI 4.36-154.7, P<0.001) โดยสรุปมีเพียง 3.4% ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติตามมาตรฐานของ OSHA ของสหรัฐอเมริกา และการมีส่วนของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในโปรแกรมเฝ้าระวังทางการแพทย์โดยเฉพาะการออกแบบรายการตรวจเพื่อติดตามสุขภาพ ผ่านองค์กรเฉพาะและมีการจัดทำแนวปฏิบัติมาตรฐานมีส่วนช่วยที่สำคัญ  
     Keyword โปรแกรมเฝ้าระวังทางการแพทย์, การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง, มาตรฐาน U.S.OSHA, แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ 
Author
635070021-3 Miss THANTHICHA WORADEE [Main Author]
Medicine Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0