2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์ความต้องการเพื่อพัฒนาแชทบอทสำหรับผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น Need Analysis of Chatbot Development for Parents of Children with Attention-Deficit Hyperactivity Disorder 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2565 เรื่อง “โอกาสและความท้าทายใหม่: อุดมศึกษาไทยสู่โลกเสมือนจริง" New Opportunities and Challenges: Thai Higher Education into the Virtual World 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเรือรัษฎา  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดตรัง 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 พฤศจิกายน 2565 
     ถึง 18 พฤศจิกายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1-25 
     Editors/edition/publisher สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ความสำคัญของการศึกษา โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชเรื้อรังที่พบได้บ่อยในเด็ก การให้ความรู้เรื่องโรคสมาธิสั้นอย่างเพียงพอ สามารถลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กได้ แต่การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแม้ว่าผู้ปกครองจะได้รับคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจถึงคำแนะนำหรือความรู้เท่าที่ควร เทคโนโลยีแชทบอทจึงมีศักยภาพที่จะมาเติมเต็มความต้องการของผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้นได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อประเมินความต้องการของกลุ่มผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้แชทบอทเพื่อช่วยส่งเสริมผู้ปกครองในการดูแลเด็กสมาธิสั้น วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ทำการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น 370 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 64 คน ในจังหวัดชัยภูมิ และระยะที่ 2 ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ปกครอง ครู และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มละ 5 คน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา ความต้องการในการใช้แชทบอทของผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านองค์ความรู้เรื่องโรคสมาธิสั้น ยา และการรักษา รวมถึงเทคนิคในการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น 2) ด้านในการช่วยเสริมกำลังใจหรือปรับทัศนคติให้แก่ผู้ปกครอง และ 3) ด้านช่องทางการส่งต่อข้อมูลและกระบวนการเข้ารับการรักษา และส่วนรูปแบบของแชทบอทที่ต้องการ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านข้อมูลและความรู้ ต้องการข้อมูลที่ทันสมัย มีแหล่งอ้างอิงทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ และต้องการให้มีคลิปวีดิโอให้ความรู้เพิ่มเติม 2) ด้านการตอบสนอง ต้องการให้แม่นยำและรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการค้นหา และ 3) ด้านรูปแบบ ต้องการให้ขั้นตอนการใช้งานแชทบอทง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย และมีความเป็นส่วนตัวของผู้สอบถาม ส่วนใหญ่ต้องการให้อยู่ในแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กหรือไลน์ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ข้อเสนอแนะ ผลวิเคราะห์ความต้องการที่ได้จากการศึกษานี้ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการพัฒนาแชทบอทที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กหรือไลน์ในการศึกษาวิจัยระยะที่ 2 ต่อไป Abstract Introduction: Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) is a chronic psychiatric disorder that is common among children. Parent’s knowledge of ADHD can reduce the behavior problem of ADHD children. However, recent studies have found that even though parents receive advice from healthcare professionals, they still do not understand the advice or knowledge they should. Objectives: To assess the need for parents, teachers and healthcare professionals to use the chatbot application to assist parents in caring for ADHD children. Methods: The study design is mixed method research which divided into 2 phases. Phase 1 conducted quantitative research using questionnaires. The samples were 370 parents of ADHD children and 64 healthcare professionals in Chaiyaphum province. Phase 2 conducted qualitative research. It was accompanied by in-depth interviews with parents, teachers, and a group of 5 healthcare workers in Chaiyaphum province by purposive sampling. The results were analyzed by descriptive statistics and content analysis technique. Results: When quantitative and qualitative research were combined, it revealed that three distinct aspects needed to be addressed by the chatbot application were: 1) knowledge of ADHD, medications and treatments, 2) Adjustment of the parent attitudes, and 3) the channel of healthcare connection, The preferred chatbot application was divided into three aspects as follows: providing reliable and up-to-date information or knowledge, fast response and easy to understand, uncomplicated and personal factors. Also, most parents would like the chatbot application to connect with Facebook or Line because it is a widely-used platform. Suggestions: The results of the need analysis are considered to be key features in the development of Facebook or Line chatbot in phase 2 of the research.  
ผู้เขียน
625150006-3 น.ส. ณัฐกษิญามน แก้วเสถียรมงกุฎ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0