2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของสารละลายโครงร่างปลูกถ่ายสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติต่อความมีชีวิตของเซลล์ปฐมภูมิกระดูกมนุษย์ Effect of 3D-Printed Hydroxyapatite Solution on Vitality of Primary Human Osteoblast Cells 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กรกฎาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กรกฎาคม 2565 
     ถึง 4 กรกฎาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1409-1417 
     Editors/edition/publisher ศ.ดร.อรรถพล ควรเลี้ยง และ รศ.ดร. สุกัญญา บูรณเดชาชัย 
     บทคัดย่อ ไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นที่นิยมใช้ในทางการแพทย์เนื่องจากมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับร่างกาย และเป็นวัสดุทางเลือกหนึ่งของการปลูกถ่ายกระดูกในตําแหน่งที่มีความผิดปกติเพื่อเลี่ยงการใช้กระดูกของผู้ป่วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงได้พัฒนาการวัสดุที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถออกแบบพอดีกับตําแหน่งที่จะนําไปใช้ โดยการศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุต่อความมีชีวิตของเซลล์กระดูกมนุษย์ โดยเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกมนุษย์ร่วมกับสารละลายวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ และสารลายไฮดรอกซีอะพาไทต์ ที่ความเข้มข้น 0, 20, 40 และ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลําดับ โดยร้อยละความมีชีวิตของเซลล์ทดสอบด้วยวิธีเพรสโตบูล โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละความมีชีวิตของเซลล์ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติความเข้มข้น 20, 40 และ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ยร้อยละความมีชีวิตแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) วัสดุน่าจะมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเซลล์กระดูกมนุษย์ ดังนั้นอาจจะพัฒนาไปเป็นวัสดุปลูกถ่ายทดแทนกระดูกในอนาคต  
ผู้เขียน
635130011-3 น.ส. ภาวิณี ภูพันธ์พร [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 5