ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทุนทางวัฒนธรรมในประเพณีแห่ต้นดอกไม้ของบ้านแสงภา อาเภอนาแห้ว จังหวัดเลย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
4 กันยายน 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
กำรประชุมวิชำกำรระดับชำติและนำนำชำติ ประจำปี 2565 (FAR8) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
3 กันยายน 2565 |
ถึง |
4 กันยายน 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
8 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
1009-1024 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทุนทางวัฒนธรรมในประเพณีแห่ต้น
ดอกไม้ของบ้านแสงภา ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลวิจัยจากภาคเอกสารและจากภาคสนามจากกลุ่ม
ผู้รู้และกลุ่มผู้ปฏิบัติ จานวน 8 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงประเพณีแห่ต้นดอกไม้ของบ้านแสงภานั้นเกิดขึ้นทั้งเหตุ
ปัจจัยจากภายในและปัจจัยจากภายนอก โดย ปัจจัยภายใน เกิดขึ้นด้วยสาเหตุดังนี้ 1) ปัจจัยทางการเมืองและ
เศรษฐกิจ เกิดจากการจัดการแข่งขันการประกวดต้นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงามตามเกณฑ์การตัดสิน
ของชุมชนทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของต้นดอกไม้ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น 2) ปัจจัยวิกฤตการณ์ทางสังคม
การรวมตัวกันของชาวบ้านต่อต้านนโยบายการท่องเที่ยวและขอยกเลิกการจัดประเพณีแห่ต้นดอกไม้ในช่วง
สถานการณ์โควิด 19 3) ปัจจัยทางประชากร ด้วยจานวนคนหนุ่มสาวในหมู่บ้านที่ลดลงจากการไปทางานต่างถิ่นทา
ให้ไม่มีแรงงานในการสร้างต้นดอกไม้ และ 4) ปัจจัยการสั่งสมทางวัฒนธรรม จากการลองผิดลองถูกมายาวนานทา
ให้ชาวบ้านแสงภามีวิธีการสร้างต้นดอกไม้ที่เป็นเอกลักษณ์จากภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา ส่วน ปัจจัยจาก
ภายนอก เกิดขึ้นจากสาเหตุ 1) ปัจจัยทางการเมือง การเข้ามามีบทบาทในประเพณีของผู้นาฝ่ายปกครอง นโยบาย
การกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวจนทาให้บทบาททางประเพณีของชาวบ้านแสงภานั้นลดลง 2) ปัจจัย
วิกฤตการณ์ในสังคม ภาครัฐได้กาหนดให้บ้านแสงภาจัดประเพณีแห่ต้นดอกไม้ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 จนทาให้
เกิดการต่อต้านของชุมชน 3) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม จากการปรับปรุงพัฒนาเส้นทางคมนาคมขยายขอบทางทาให้
จานวนดอกไม้ที่ใช้ในการประดับต้นดอกไม้ลดลงและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาบ้านแสงภาได้สะดวกขึ้น
และ 4) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวทาให้เกิดการจัดแสดงการแห่ต้นดอกไม้จาลองในวาระ
พิเศษชาวบ้านมีรายได้จากการแสดง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|