2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา2019ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 เมษายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 23 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 13 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบปฎิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) ได้จำนวนตัวอย่าง 154 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.99 และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน และการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมของระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จและระดับการปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.93 (S.D.=0.67), 3.97 (S.D.=0.72) และ3.04 (S.D.=0.61) ตามลำดับโดยพบว่าภาพรวมปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (r=0.653, p-value<0.001) และภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (r=0.696, p-value<0.001) และพบว่าตัวแปรทั้ง 3 ตัว ประกอบด้วย ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา และปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในโรงพยาบาล แม่ข่าย มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 58.3 (R2=0.583) 
     คำสำคัญ ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 
ผู้เขียน
645110029-7 น.ส. ปิ่นสกุลแก้ว ทองแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum