2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในรูปแบบเสมือนจริง กรณีศึกษา อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู A Composition Study of Virtual Community Based Agrotourism: A Case Study of Na Wang District, Nongbualamphu Province 
Date of Distribution 22 March 2023 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 9 ประจำปี 2566 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 
     Conference Place รูปแบบ Teleconference ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Google Meet 
     Province/State เลย 
     Conference Date 22 March 2023 
     To 22 March 2023 
Proceeding Paper
     Volume 2566 
     Issue
     Page 403-416 
     Editors/edition/publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนของอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในรูปแบบเสมือนจริงของอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 11 คน ตัวแทนหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 7 คน ตัวแทนชุมชนและผู้ประกอบการด้านการเกษตรในพื้นที่อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์จากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวโดยการหาค่าสถิติร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) บริบทการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภูนั้น มีจุดเด่นที่สามารถพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวได้เนื่องจากอำเภอนาวังมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถสร้างผลผลิตได้ทุกฤดูกาล ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมือง “อารยเกษตร และอาหารปลอดภัย” และทั้งยังเป็นพื้นที่ส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ขนาดใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์มายาวนาน และเสน่ห์ที่โดดเด่นของชาวอำเภอนาวังนี้คือมนุษยสัมพันธ์และการบริการที่เป็นมิตรพร้อมเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ ทั้งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนใครในแต่ละตำบลอีกด้วย 2) พบว่าองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ควรมีในสื่อรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Media) เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสมจริง และชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.72) ควรประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ (1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว (Tourism Resources) ( =4.28) (2) ด้านการจัดการพื้นที่ (Zoning Management) ( =4.30) (3) ด้านการบริการ (Service) ( =3.80) (4) ด้านกิจกรรม การเรียนรู้ และนันทนาการ (Activities, Learning and Entertainment) ( =4.10) (5) ด้านกลุ่มบุคคล (Group of People) ( =4.24) และ (6) ด้านผลิตภัณฑ์ (Products) ( =4.26)  
Author
635210054-0 Miss SIWATCHAYA BUASAI [Main Author]
Business Administration and Accountancy Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0