2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 
     ISBN/ISSN ISSN 2822-0943  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 522 คน ได้จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ การสนับสนุนจากองค์การและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อยู่ในระดับมาก ( =4.16, S.D.=0.30), ( =4.18, S.D.=0.34) และ( =4.42, S.D.= 0.46) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.576, p-value<0.001) และ(r=0.386, p-value< 0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีแผนงานสนับสนุน และการสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ มีผลและสามารถพยากรณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 61.1 (R2=0.611, p-value<0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการประสานงานของเครือข่ายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล 
     คำสำคัญ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ; การสนับสนุนจากองค์การ; การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 
ผู้เขียน
645110019-0 น.ส. กนกอร ผิวเพชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0