2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด (Health Literacy and Administrative Factors Affecting The prevention and Control Of Dengue Hemorrhagic Fever Among village Health Volunteers in Roi Et Province) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 34,142 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 13 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยทางการบริหาร และการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.56 (S.D. = 0.26), 2.62(S.D. = 0.28) และ 2.67 (S.D. = 0.28) ตามลำดับ โดยพบว่า ภาพรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (r=0.736, r=0.792, p-value<0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการจัดการตนเอง ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา และปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 82.5 (R2=0.825, p-value<0.001)  
     คำสำคัญ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยทางการบริหาร, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 
ผู้เขียน
645110035-2 นาย พริษฐ์ พลเยี่ยม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0