2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาแบบสอบถามทัศนคติของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 เมษายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 The 15 th Graduate Research Conference 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 เมษายน 2566 
     ถึง 1 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ไม่มี 
     Issue (เล่มที่) ไม่มี 
     หน้าที่พิมพ์ 549-558 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนันรัตน์ รูปใหญ่/เอกสารหลังการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15/บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ตรวจสอบความตรง และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติของ พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น ตามกรอบการพัฒนาเครื่องมือวิจัย โดยการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบและข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์พยาบาลผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ประกอบด้วย การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบสอบถามทัศนคติของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก แบ่งออกเป็น 5 ด้าน จำนวน 16 ข้อ ประกอบด้วย การรับรู้ต่อผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก (2 ข้อ) การประเมินอาการผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก (2 ข้อ) การจัดการอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้าย (4 ข้อ) การสื่อสารให้ข้อมูลและการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (6 ข้อ) การประสานงานและการดูแลต่อเนื่อง (2 ข้อ) แต่ละข้อเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับ 2) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ พบว่า ความตรงตามเนื้อหา (content validity index, CVI) ทั้งความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (item content validity index, I-CVI) ทุกรายข้อคำถามเท่ากับ 1.0 และความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (content validity for scale, S-CVI) เท่ากับ 1.0 และการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าคอนบาค (Cronbach’s alpha coefficients) เท่ากับ 0.71 ซึ่งถือว่าแบบสอบถามนี้มีความเหมาะสมในการประเมินทัศนคติของพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายที่มีอาการหายใจลำบากในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างต่อไป 
ผู้เขียน
645060050-3 น.ส. ศศิธร ชัยศัตรา [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0