2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของวิตามินบี 6 ต่อการผลิตสารกาบาโดย Lactipantibacillus plantarum SKKL1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 5 (NCST 2023) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยาชภัฏลย 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเรียนวิทยาศาสตร์และห้องฏิบัติการ (อาคาร 28)  
     จังหวัด/รัฐ เลย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 10 มีนาคม 2566 
     ถึง 10 มีนาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 89 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ Lactipantibacillus plantarum SKKL1 เป็นแบคทีเรียกรดแลคติกที่สามารถผลิตสารกาบา (gamma aminobutyric acid; GABA ) ด้วยปฏิกิริยา decarboxylation จากการเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ glutamate decarboxylase และใช้วิตามินบี 6 เป็นโคเอนไซม์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิตามินบี 6 ต่อการผลิตสารกาบา โดยเปรียบเทียบชุดการทดลองการหมัก Lpb. plantarum SKKL1 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS ที่มีวิตามินบี 6 และไม่มีวิตามินบี 6 ผลการวิจัยพบว่า วิตามินบี 6 ในรูปของ pyridoxine (PN) ไม่ส่งผลต่อการเจริญของแบคทีเรียหรือการผลิตสารกาบา แต่การใช้วิตามินบี 6 รูปแบบ pyridoxal 5 phosphate (PLP) ช่วยส่งเสริมการผลิตสารกาบา โดยทาหน้าที่เป็นโคเอนไซม์สาหรับการเปลี่ยนกลูตาเมตเป็นสารกาบา ในบรรดาแหล่งที่มีวิตามินบี 6 นั้น ยีสต์ถือเป็นแหล่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของวิตามินบีรวม ดังนั้นจึงนายีสต์และแบคทีเรียกรดแลกติกมาประยุกต์ใช้ในการผลิตนมหมัก โดยการหมักร่วมกันระหว่าง Lpb. plantarum SKKL1 และ Saccharomyces cerevisiae TISTR 5339 เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตสารกาบา ผลการทดลองพบว่า มีเซลล์รอดชีวิตเท่ากับ 7.8 Log CFU/ml และ 5.4 Log cell/ml ตามลาดับ และพบปริมาณสารกาบาในนมหมัก 0.18 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เพิ่มขึ้นจากชุดควบคุม ดังนั้นการเพาะเลี้ยงแบบหมักร่วมไม่สามารถส่งเสริมการผลิตสารกาบาให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากยีสต์สามารถเปลี่ยนสารกาบาไปเป็นซัคซิเนต (succinate) และดูดซับสารกาบาไปเก็บไว้ในแวคิวโอล (vacuole) ภายในเซลล์ 
ผู้เขียน
615160004-0 น.ส. ศศิวรรณ ศิริชน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลนำเสนอระดับดีมาก 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 10 มีนาคม 2566 
แนบไฟล์
Citation 0