2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของชาวไทดำ บริบทชุมชนบ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย 
Date of Acceptance 18 May 2023 
Journal
     Title of Journal หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย  
     Standard TCI 
     Institute of Journal ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 
     ISBN/ISSN  
     Volume ปีที่ 20  
     Issue ฉบับ 1 (มกราคม 2566-มิถุนายน 2566) 
     Month มกราคม 2566-มิถุนายน 2566
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ ไทดําบ้านนาป่าหนาดเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีบรรพบุรุษอาศัยอยู่บริเวณเมืองพวนและพื้นที่สิบสองจุไท ด้วยเหตุผลการเมืองและความไม่มั่งคงในพื้นที่ทําให้ถูกกวาดต้อนเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงสงครามปราบฮ่อ จากการเปลี่ยนแปลงบริบทถิ่นที่อยู่ในภูมิศาสตร์ราบหุบเข้าสู่ที่ราบสูงในภาคอีสานประเทศไทย ไทดำบ้านนาป่าหนาดจึงเป็นชุมชนไทดำแห่งเดียวที่ต้องปรับการอยู่อาศัยให้เข้ากับภูมิศาสตร์และบริบททางวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมในระดับต่างๆ ที่มีมาแต่เดิม ผ่านช่วงเวลา 100 ปี บทความวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของกลุ่มไทดําภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน สถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยและการจัดการลักษณะทางภายภาพผังชุมชน การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเรือนกรณีศึกษาที่ก่อสร้างในช่วงเวลาต่างกันจํานวน 13 หลัง เป็นตัวแทนของเรือนพักอาศัยของคนไทดําบ้านนาป่าหนาด วิธีการวิจัยใช้การสํารวจภาคสนาม ถ่ายภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมและความหมายของพื้นที่ภายในเรือน ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงผังชุมชนจากการตัดถนนแบบตารางและการแบ่งแปลงที่ดินมีผลโดยตรงกับการวางตัวเรือนในชุมชนในภาพรวม ลักษณะเรือนพักอาศัยมีการรับเอาเรือนอีสานและแบบร่วมสมัยเข้ามาใช้ พื้นที่การใช้งานปรับตามกิจกรรมของเจ้าของเรือน ปัจจัยข้างต้นมีผลต่อกายภาพภายนอกของเรือนและชุมชน ซึ่งส่งผลต่อพื้นที่ทางวัฒนธรรมภายในเรือนเพียงบางส่วน โดยพบว่าพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาดยังมีศูนย์กลางที่ตําแหน่งกะล้อฮ่อง คงความหมายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นแกนหลักของพื้นที่ภายในเรือนกรณีศึกษาทุกหลัง เรือนส่วนใหญ่มีเสาผีเป็นตัวกำหนดทิศหัวนอนที่สัมพันธ์กับทิศภูเขาสําคัญของบริบทการตั้งถิ่นฐานชุมชน แนวคิดพื้นที่ยังมีความสอดคล้องกับอุดมการณ์การจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมไทดําที่มีมาแต่เดิมสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเรือนรูปแบบสองชั้นได้มากกว่าเรือนชั้นเดียว กะล้อฮ่องจึงยังเป็นตําแหน่งพื้นที่ทางความคิดชาวไทดำที่เชื่อมโยงตัวตนเจ้าของเรือนกับโครงข่ายกลุ่มคนในวัฒนธรรมไทดำและบริบทสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ภายนอกตัวเรือนภายในชุมชนบ้านนาป่าหนาดถึงแม้ว่าจะมีการย้ายถิ่นฐานจากพื้นที่เดิม 
     Keyword บ้านนาป่าหนาด, พื้นที่ทางวัฒนธรรม, พัฒนาการรูปแบบเรือน, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์, เรือนพื้นถิ่นไทดำ 
Author
607200001-8 Mr. TULLACHAI BOSUP [Main Author]
Architecture Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0