ชื่อบทความ |
การเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมของกลุ่มมารดาวัยรุ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
22 พฤษภาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
ISBN/ISSN |
2673-0758 |
ปีที่ |
6 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม - กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
มารดาวัยรุ่นในครอบครัวยากจนถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสังคมสูง จำเป็นต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือและมาตราการคุ้มครองทางสังคม เพื่อป้องกันและขจัดความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคม และภัยคุกคามอื่น ๆ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการช่วยเหลือทางสังคมสำหรับมารดาวัยรุ่น เพื่อศึกษาการเข้าถึงโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของมารดาวัยรุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ความต้องการในการเข้าถึงโครงการฯ ของมารดาวัยรุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อให้ทราบข้อมูลสถานะการช่วยเหลือและการได้รับการคุ้มครองทางสังคมในปัจจุบันของกลุ่มมารดาวัยรุ่นในกรณีศึกษาโครงการสวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือสามารถเข้าถึงโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้ โดยการเข้าถึงและกระบวนการต่าง ๆ มีความสะดวก ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและยินดีเสียค่าใช้จ่ายหากได้รับสวัสดิการ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ข้อมูลยังให้ความคิดเห็นว่าโครงการฯ ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สำหรับเงินอุดหนุนที่ได้รับนั้นยังไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตร โดยทุกคนที่ได้รับสวัสดิการต่างได้รับการยอมรับจากสังคม และมีความพึงพอใจในโครงการฯ สำหรับปัญหา หรืออุปสรรค คือ ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านจำนวนเงินอุดหนุน ด้านความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และด้านกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ ความต้องการ หรือความคาดหวังที่มีต่อโครงการฯ และข้อเสนอแนะ มีดังนี้ 1) ควรมีการบูรณาการจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อช่องทางออนไลน์ 2) ควรปรับเพิ่มเงินอุดหนุนให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน 3) การอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนแบบออนไลน์ และ 4) ควรปรับให้เป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และควรมีการลดหย่อนภาษีสำหรับการมีบุตรให้กับผู้ที่ไม่ประสงค์รับสวัสดิการ |
คำสำคัญ |
การคุ้มครองทางสังคม; มารดาวัยรุ่น; โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|