2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำการเกษตรโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์: กรณีศึกษาพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร Journal of Modern Learning Development 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 
     ISBN/ISSN 2673-074X 
     ปีที่
     ฉบับที่ 11 
     เดือน พฤศจิกายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุความเป็นมา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำการเกษตรโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ของประชาชน 4 หมู่บ้าน ท้องที่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ประชาชนผู้อยู่อาศัยและทำการเกษตรโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10 คน รวม 40 คน กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 8 คน และกลุ่มที่ 3 พนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสัมภาษณ์ปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการวิจัย แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการอยู่อาศัยและทำการเกษตรโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ของประชาชน 4 หมู่บ้าน เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ 1.การทับซ้อนและไม่ชัดเจนของแนวเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าโสกแต้ 2.ความพยายามเรียกร้องขอออกโฉนดที่ดินของประชาชนบางกลุ่มในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน และ 3.การปล่อยปละละเลยของ กฟผ. โดยผลกระทบที่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐได้รับ จำแนกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านนโยบาย สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ คือ ให้ กฟผ. เข้าไปสำรวจและจัดทำสัญญาเช่าที่ดินกับประชาชนในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีและคาดหมายผลสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากเป็นรูปแบบและแนวทางที่ กฟผ. ดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่หมู่บ้านอื่นรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ หลังจากนั้น กฟผ. ควรถ่ายโอนภารกิจการจัดทำสัญญาเช่าที่ดินอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ทั้งหมดให้กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง  
     คำสำคัญ เขื่อนอุบลรัตน์; พื้นที่อ่างเก็บน้ำ; การใช้ประโยชน์ที่ดิน 
ผู้เขียน
635280038-6 นาย ธีรวรรธน์ ศิริบุญ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0