2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบของภาพลักษณ์อาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 มีนาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ และงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายบริหารการศึกษา  
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 เมษายน 2566 
     ถึง 28 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 225-235 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาพลักษณ์อาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเอกสารดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาพลักษณ์อาชีวศึกษา จํานวน 16 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้จากแนวคิดและวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของภาพลักษณ์อาชีวศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน ใช้แบบตรวจสอบความสอดคล้องของแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของภาพลักษณ์อาชีวศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ มีเครื่องมือในการเรียนการสอนที่ตรงเนื้อหา หลักสูตรเน้นความร่วมมือกับสถานประกอบการ และหลักสูตรพัฒนาผู้เรียนตรงกับต้องการของตลาดแรงงาน 2) การบริการชุมชน มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ ส่งเสริมความรู้ในการสร้างอาชีพกับชุมชน เปิดให้ชุมชนเข้ามาใช้สถานที่และเป็นแหล่งเรียนรู้ และร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมกับชุมชน 3) คุณภาพของครูผู้สอน มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีเทคนิควิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเนื้อหาให้ตรงกับบริบทใหม่ 4) การสื่อสารของสถานศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ วิธีการและช่องทางที่หลากหลายและทันสมัย ใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย และมีการติดตามและประเมินผล 5) คุณภาพของผู้บริหาร มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ มุ่งเน้นการสร้างวิสัยทัศน์ พัฒนาทักษะในการสื่อสาร และ พัฒนาบุคลิกภาพให้สามารถเป็นตัวแทนสถานศึกษาได้ 
ผู้เขียน
645050064-8 นาย กฤษมงคล เวียงนนท์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0