2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาองค์ประกอบของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 8 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการและนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566 "การออกแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาเครือข่าย 
     สถานที่จัดประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 เมษายน 2566 
     ถึง 28 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 403-414 
     Editors/edition/publisher สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของ Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารการศึกษาที่มีประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษา จำนวน 2 ท่าน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Growth Mindset หรือมีวิจัยทางด้านการศึกษา จำนวน 1 ท่าน 3) นักวิชาการด้านการบริหารการศึกษา 1 ท่าน และ 4) นักวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผล 1 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาคุณภาพด้วยวิธีตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence : IOC ) โดยต้องมีค่ามากกว่า 0.50 ขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า Growth Mindset ของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ความท้าทายในการทำงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทักษะด้านการสร้างความสัมพันธ์สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ในการทำงาน 2) การเรียนรู้ปัญหาและเผชิญความล้มเหลว มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ กล้าที่จะเผชิญกับความล้มเหลวในการทำงาน และการแก้ปัญหาและความล้มเหลวของตนเองที่เกิดขึ้น 3) การยอมรับความสำเร็จ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การรับรู้ถึงความสามารถของตนเองที่แสดงถึงความสำเร็จและล้มเหลว การกำหนดและกระทำให้บรรลุเป้าหมาย และการสร้างความพยายามในการพัฒนาศักยภาพตนไปสู่การประสบความสำเร็จ 4) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์และข้อติชม มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเปิดใจยอมรับฟังคำวิจารณ์และข้อเสนอแนะ และการปรับปรุงและหาแนวทางการแก้ไขพัฒนาตนเอง และ 5) การหาแบบอย่างและแรงบันดาลใจ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเรียนรู้จากความสำเร็จของผู้อื่น ผู้บริหารประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรในองค์กร และยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 -1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 
ผู้เขียน
645050077-9 น.ส. มุกระวี พินิจลึก [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum