ชื่อบทความ |
การประเมินวิธีการสูญเสีย Green-Ampt และ SCS-CN จากเหตุการณ์น้ำไหลเข้าแบบสุดขั้วของอ่างเก็บน้ำลำปาว |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 พฤษภาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วานสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2672-9636 |
ปีที่ |
23 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนวิธีการสูญเสีย Green-Ampt และ SCS-CN ของแบบจำลอง HEC-HMS สำหรับจำลองปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปาว ทั้งนี้ในการจำลองปริมาณน้ำท่าโดยตรง การไหลใต้ดิน และการเคลื่อนตัวของน้ำใช้วิธี Snyder unit hydrograph Linear reservoir และ Muskingum ตามลำดับ ร่วมกับ 2 กระบวนวิธีดังกล่าว พื้นที่รับน้ำฝนอ่างเก็บน้ำและคุณลักษณะของพื้นที่คำนวณมาจากข้อมูลระดับความสูงเชิงเลขความละเอียด 30 ม. x 30 ม. ในโปรแกรม HEC-HMS ข้อมูลน้ำท่ารายวันสำรวจในช่วงน้ำหลาก 5 เหตุการณ์ (ในปี พ.ศ. 2553 2554 2560 2561 และ 2562) ณ 3 สถานีตรวจวัดน้ำท่า (E.65 E.76A และเขื่อนลำปาว) ใช้สำหรับการสอบเทียบและตรวจสอบแบบจำลอง การประเมินผลแบบจำลองใช้ดัชนีสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ ประสิทธิภาพ Nash-Sutcliffe เปอร์เซ็นต์คลาดเคลื่อนของการไหลสูงสุด และเปอร์เซ็นต์คลาดเคลื่อนของปริมาตรน้ำ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำท่าที่คำนวณด้วยแบบจำลองที่ใช้กระบวนวิธี SCS-CN มีความน่าเชื่อถือมากกว่าปริมาณน้ำท่าที่คำนวณด้วยแบบจำลองที่ใช้กระบวนวิธี Green-Ampt การศึกษานี้จะเป็นตัวอย่างในการสร้างแบบจำลองทางอุทกวิทยาสำหรับพยากรณ์น้ำท่วมในประเทศไทยได้ |
คำสำคัญ |
แบบจำลองอุทกวิยา HEC-HMS วิธี SCS-CN วิธี Green-Ampt |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|