ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง วัยรุ่นกับเรื่องเพศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
3 มิถุนายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ออนไลน์) |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
28 พฤษภาคม 2566 |
ถึง |
28 พฤษภาคม 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2566 |
Issue (เล่มที่) |
10 |
หน้าที่พิมพ์ |
28-41 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคมที่เรียนด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วัยรุ่นกับเรื่องเพศ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัยรุ่นกับเรื่องเพศ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกแต่งระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติ The Wilcoxon Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม ที่ได้รับการจัดการเรียน ด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม ที่ได้รับการจัดการเรียน ด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบปัญหาเป็นฐาน สามารถช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมผู้เรียนได้เรียนรู้จากปัญหา โดยใช้ปัญหามาเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา เห็นทางเลือกในการแก้ปัญหา เกิดกระบวนคิดและการแก้ปัญหา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|