2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษานำร่องกำลังแรงยึดเฉือนของสารผนึกหลุมและร่องฟัน 3 ชนิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ บัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 24 (National Graduate Conference 1/2023) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงเรียนเสนาธิการทหารบก 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 22 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่) 5(2023) 
     หน้าที่พิมพ์ 1-10 
     Editors/edition/publisher ศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนระหว่างการใช้สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเซลฟ์เอทช์ สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์ที่ใช้ร่วมกับเซลฟ์เอทช์ไพรเมอร์ สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซินร่วมกับ สารยึดติดระบบยูนิเวอร์แซลเซลฟ์เอทช์ และสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซินร่วมกับการใช้กรดกัด เตรียมชิ้นงานตัวอย่างโดยใช้ฟันกรามน้อยบน 18 ซี่ สุ่มแบ่งฟันเป็น 4 กลุ่มตามชนิดของวัสดุ ตัดฟันใต้รอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน 2 มม. ขัดด้านใกล้แก้มด้วยกระดาษทราย ก่อแท่งวัสดุด้วยยางแยกฟันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2 มม. สูง 1 มม. เก็บรักษาชิ้นงานไว้ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมงและนำไปเข้าเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบร้อนเย็นเป็นจังหวะจำนวน 500 รอบ นำไปทดสอบกำลังแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล ความเร็วหัวทดสอบ 1 มม./นาที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดเฉือนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดเฉือนในกลุ่มสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์ที่ใช้ร่วมกับเซลฟ์เอทช์ไพรเมอร์มีค่ามากที่สุด โดยแตกต่างจากอีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คำสำคัญ: สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเซลฟ์เอทช์, สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดไจโอเมอร์, สารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดเรซิน, สารยึดติดระบบยูนิเวอร์แซลเซลฟ์เอทช์, กำลังแรงยึดเฉือน 
ผู้เขียน
635130003-2 น.ส. พิมพ์ชนก พุทธคุณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 5