ชื่อบทความ |
ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
7 มิถุนายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา |
ISBN/ISSN |
ISSN 2673-088X และ e-ISSN 26973871 |
ปีที่ |
17 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
15 |
บทคัดย่อ |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 156 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 138 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 0.95 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าภาพรวม ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงและปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ (r =0.747, p-value <0.001 และ r =0.707,p-value <0.001) ตามลำดับ และปัจจัยแห่งความสำเร็จการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร และปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับมีแผนงานสนับสนุนมีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 75.9 (R2=0.759)
|
คำสำคัญ |
ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค, เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|