2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของกลุ่มเสี่ยง 608 ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 20 June 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ISBN/ISSN 2408-2686 
     Volume 10 
     Issue
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2023 
     Page 16 
     Abstract โรคโควิด-19(COVID-19) ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมหาศาลทั่วโลก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนายาและวัคซีนป้องกันเฉพาะสำหรับโรค โดยพบว่าการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันโรค และลดอัตราการเสียชีวิต โดยกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ กลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม, มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของกลุ่มเสี่ยง 608 ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย : แบบ Unmatched case-control Study วิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 524 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่มศึกษาคือกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีน 262 คน และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 262 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดย Multiple logistic regression ผลการศึกษา : พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ กลุ่มเสี่ยง 608 ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป(OR_adj 1.78; 95% CI: 1.12-2.84) โดยเป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพ (OR_adj 1.91; 95% CI: 1.25-2.91) เคยมีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 (OR_adj 1.97; 95% CI: 1.30-3.01) ระดับความเชื่อในการรับรู้ด้านประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับระดับต่ำ/ปานกลาง (OR_adj 3.21; 95% CI: 2.08-4.93) อุปสรรคคือความไม่สะดวกในการเดินทาง (OR_adj 2.62; 95% CI: 1.70-4.03) และการกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน (OR_adj 1.77; 95% CI: 1.09-2.88) ข้อเสนอแนะ : การให้บริการวัคซีนควรให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน เนื่องจากปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ อาชีพ ประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการไม่ฉีดวัคซีน และควรพัฒนาระบบการบริการให้สะดวกต่อการเข้าถึง เพื่อลดปัญหาการไม่ฉีดวัคซีน  
     Keyword โรคโควิด-19 ; วัคซีนโควิด-19 ; กลุ่มเสี่ยง 608  
Author
645110071-8 Miss JIRAPORN KETKHIEO [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0