2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในพื้นที่ปลายทาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม สัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 22 ประจำปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยณเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม อาคารปราบไตรจักร 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มิถุนายน 2566 
     ถึง 16 มิถุนายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 91 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในพื้นที่ปลายทาง ใช้หน่วยการวิเคราะห์ระดับปัจเจก กลุ่มตัวอย่างคือ แรงงานหญิงอีสานที่ย้ายถิ่นไปทำงานในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 1,713 คน จากข้อมูลทุติยภูมิระดับย่อยโครงการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลเมื่อตุลาคม-ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ตารางไขว้ ผลวิจัยพบว่า แรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นส่วนใหญ่เป็นคน Gen Y ร้อยละ 48.6 สำเร็จการศึกษาภาคบังคับและเป็นโสด (ร้อยละ 62.1 และ 71.3 ตามลำดับ) กว่าครึ่งหนึ่งทำงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ราวร้อยละ 72.9 ทำงานในกลุ่มอาชีพทักษะระดับ 2 (เสมียน พนักงานบริการ ฯลฯ) และทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.5 ได้รับค่าจ้าง 9,001-15,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้พบว่าแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นที่ทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่มีสัดส่วนของค่าจ้างที่สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งแรงงานหญิงที่ประกอบอาชีพในลักษณะเดียวกันในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรายได้ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง  
ผู้เขียน
657080003-5 นาย กิตติพิชญ์ พรหมโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0