ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การประยุกต์ใช้วิธีการตัดสินใจแบบหลายปัจจัยอย่างผสมผสาน (HMADM)
ในการคัดเลือกที่ตั้งของการก่อสร้างท่าเรือบก (Dry port) ที่เหมาะสม:
กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
26 พฤษภาคม 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 หัวข้อ “ความท้าทายด้านวิศวกรรมโยธาหลังการระบาดใหญ่” (“Post-Pandemic Challenges in Civil Engineering”) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
สถานที่จัดประชุม |
ณ โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา |
จังหวัด/รัฐ |
จังหวัดภูเก็ต |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
21 มิถุนายน 2566 |
ถึง |
21 มิถุนายน 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2566 |
Issue (เล่มที่) |
28 |
หน้าที่พิมพ์ |
TRL-50 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
ท่าเรือบก เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าสิ่งที่มีความสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ลดความเสียหายและการสูญหายของสินค้า ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ลดอุบัติเหตุทางถนน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือบก เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ไม่มีโครงสร้างการตัดสินใจที่ชัดเจนและจะต้องพิจารณาหลากหลายปัจจัย กระบวนการการตัดสินใจเช่นนี้จึงมีความสอดคล้องกับวิธีการตัดสินใจแบบหลายปัจจัย (Multiple attributes decision making (MADM) method) งานวิจัยนี้จะประยุกต์ใช้วิธีการที่ตัดสินใจแบบหลายปัจจัยอย่างผสมผสาน (HMADM) ในการกลั่นกรองพื้นที่ทางเลือกที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือบกในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ปรัชญาการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการประยุกต์ใช้วิธี AHP เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่พิจารณา วิธี FSM เพื่อใช้ในการเปลี่ยนค่าคะแนนที่เป็นคำพูดให้เป็นค่าคะแนนที่เป็นตัวเลข และวิธี TOPSIS เพื่อคำนวณหาค่าคะแนนรวมของแต่ละทางเลือก ปัจจัยหลักที่ใช้พิจารณาประกอบไปด้วย ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบด้านสังคม และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน ผลจากการวิจัยพบว่า พื้นที่สถานีรถไฟโนนพะยอม ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีความเหมาะสมมากที่สุด
คำสำคัญ: ท่าเรือบก, วิธีการที่ตัดสินใจแบบหลายปัจจัยแบบผสมผสาน, การคัดเลือกตำแหน่งที่ตั้ง
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|