2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ รูปแบบของการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถานศึกษาของไทย โดยการวิเคราะห์จากวรรณกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 เมษายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักประชากรไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพ(สามย่าน) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 เมษายน 2566 
     ถึง 27 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 239-258 
     Editors/edition/publisher สมาคมนักประชากรไทย 
     บทคัดย่อ สังคมไทยมีแนวโน้มยอมรับผู้มีความหลากหลายทางเพศของสังคมไทยที่เพิ่มสูงขึ้นนับจากประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมทางเพศ พ.ศ. 2558 แต่อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศยังคงต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ในสถานศึกษาของไทย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถานศึกษาของไทย ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) โดยการสืบค้นวรรณกรรมที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2565 จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ 4 แหล่ง ประกอบด้วย 1) Taylor & Francis 2) Scopus 3) ProQuest 4) ThaiJO และจากฐานข้อมูลออนไลน์ขององค์กรระหว่างประเทศที่ศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ 2 แหล่ง ประกอบด้วย 1) UNESCO Digital Library ของยูเนสโก้ และ 2) Open Knowledge Repository ของธนาคารโลก จนได้วรรณกรรมที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 9 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยเชิงปริมาณประเภทวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจำนวน 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงคุณภาพประเภทชาติพันธุ์วรรณาจำนวน 4 เรื่อง ชาติพันธุ์วรรณาและวิเคราะห์เอกสารจำนวน 1 เรื่อง และพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจำนวน 1 เรื่อง และงานวิจัยแบบผสมประเภทเชิงอธิบายจำนวน 2 เรื่อง โดยใช้การสรุปความและสังเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อสร้างรูปแบบของการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในสถานศึกษาของไทย ผลการทบทวนวรรณกรรมสามารถจำแนกรูปแบบของการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสถานศึกษาของไทยได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การกลั่นแกล้ง 2) การคุกคาม 3) การเลือกปฏิบัติผ่านกฎระเบียบ 4) การจำกัดโอกาสเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษา และ 5) การขอให้ปิดบังอัตลักษณ์ทางเพศภาวะ 
ผู้เขียน
657080019-0 นาย ปวีณ วรรคสังข์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0