2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการคนเก่ง Generation Y ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 เมษายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมนาทางวิชาการ การนําเสนอผลงานวิชาการระดับชาติระดับชาติ/นานาชาติ และงานบริหารการศึกษาสมพันธ์ ครั้งที่46 ประจําปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่ง ประเทศไทย (สพบท.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและเครือข่ายบริหารการศึกษา 
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 เมษายน 2566 
     ถึง 28 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 762-771 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารจัดการคนเก่ง Generation Y ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการจัดการ การบริหารจัดการคนเก่ง Generation Y จำนวน 14 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยองค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ ตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ของการบริหารจัดการคนเก่ง Generation Y ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบปลายเปิด โดยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 0.85 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกตัวบ่งชี้ องค์ประกอบและตัวผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการบริหารจัดการคนเก่ง Generation Y มี องค์ประกอบ 4 ด้าน 12 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) การสรรหาและคัดเลือกคนเก่ง มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ ได้แก่ 1) การสรรหาเชิงรุกจากแหล่งภายนอกผ่านระบบออนไลน์ 2) การสรรหาจากแหล่งภายใน 3) สร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร (2) การพัฒนาคนเก่ง พบว่ามี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสอนงาน 2) การมอบหมายงานพิเศษที่ท้าทาย 3) การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (3) การบริหารผลการปฏิบัติงาน พบว่ามี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การวางแผนการปฏิบัติงาน 2) การติดตามผลการปฏิบัติงาน 3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (4) การธำรงรักษาคนเก่ง มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) สร้างวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม 2) สร้างโอกาสความก้าวหน้าทางสายอาชีพ 3) การให้รางวัลเพื่อจูงใจคนเก่ง  
ผู้เขียน
645050068-0 น.ส. ธนาภรณ์ ไลไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0