2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การศึกษาความเป็นพลเมืองผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาการเมือง 
Date of Acceptance 23 May 2022 
Journal
     Title of Journal 79วารสารจันทรเกษมสาร  
     Standard TCI 
     Institute of Journal สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
     ISBN/ISSN  
     Volume 28 
     Issue
     Month มกราคม–มิถุนายน
     Year of Publication 2022 
     Page 78-92 
     Abstract บทคัดย่อบทความวิชาการนี้ได้ทบทวนการศึกษาความเป็นพลเมืองผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาการเมือง จากกรอบแนวคิดการศึกษาความเป็นพลเมือง (Frame of Citizenship) มีความสําคัญในทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางสังคมของบุคคลทั้งในระดับปัจเจกชน (Individual)และระดับกลุ่มหรือชุมชน (Community) ผ่านมิติของความเป็นพลเมืองทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การเป็นสมาชิกของชุมชนการเมือง (Membership) การมีสิทธิและหน้าที่ (Rights as Obligations)และการกระทํา(Practices) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการศึกษาความเป็นพลเมืองทั้ง 3 แนวคิดที่มีจุดเน้นของการศึกษาที่แตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมนั้น ๆ สําหรับแนวคิดความเป็นพลเมืองแบบเสรีนิยม(Libertarianism)ให้ความสําคัญกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน แต่ก็เห็นว่าความเป็นพลเมืองมีองค์ประกอบทั้งในเรื่องของความเป็นปัจเจกชนของแต่ละบุคคล (Individualistic)และเรื่องของกลุ่มคน (Collectivist) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแนวคิดแบบสาธารณนิยมที่เน้นบทบาทของพลเมือง “Civic Republicanism” เน้นการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมของพลเมืองนั้น จะต้องให้การศึกษาเพื่อสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง(Civic Education) เพื่อให้เกิดคุณธรรมแบบพลเมือง หรือ “การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม” (Civic Virtue) และแนวคิดความเป็นพลเมืองแบบชุมชนนิยม (Communitarian) การให้ความสําคัญกับชุมชนหรือค่านิยมของสังคมมากกว่าปัจเจกบุคคลหรือค่านิยมส่วนตัวของบุคคลให้ความสนใจในสิทธิกลุ่ม (Group Right) และสิทธิร่วม (Collective Right) ทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะสิทธิต่อทรัพยากร ภายใต้พันธะข้อตกลงทางสังคม และการสร้างและการคงไว้ซึ่งชุมชนผ่านการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้กับปัญหาที่เกิดกับชุมชนการเมืองของตนเองผ่านการมีจิตสํานึกเพื่อส่วนร่วมหรือจิตสาธารณะ ดังนั้นการศึกษาความเป็นพลเมืองในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นสถานะของความเป็นพลเมืองที่ในทุก ๆ สังคมพึงปรารถนา แต่ละบริบทของสังคมนั้น ๆ อาจกําหนดสถานะหรือคุณลักษณะของพลเมืองที่แตกต่างกันออกไปภายใต้บริบทชุมชนการเมืองนั้น ๆ 
     Keyword ความเป็นพลเมือง สังคมวิทยาการเมืองคุณธรรมแบบพลเมือง 
Author
627080004-0 Mr. MR.SUTHEP KHAMMEK
Humanities and Social Sciences Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0