ชื่อบทความ |
ความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
28 มิถุนายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ (Journal of Nursing Science and Health) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
46 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 214 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563 ถึงเดือนตุลาคม 2565
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการคัดกรอง (แบบทดสอบสมรรถภาพสมอง Abbreviated Mental Test และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม) 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ซึ่งรวมถึงข้อมูลภาวะสุขภาพ เช่น ดัชนีมวลกาย ความเสี่ยงด้านโภชนาการที่ประเมินด้วย Nutrition Alert Form และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 2.2) แบบประเมินความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่ในโรงพยาบาล ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดของ European Society for Clinical Nutrition and Metabolism เครื่องมือวิจัยนี้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.93 ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามความต้องการการดูแลด้านโภชนาการและแบบสอบถามการได้รับการดูแลด้านโภชนาการเป็น 0.88 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างของความต้องการฯและการได้รับการดูแลฯด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการด้านโภชนาการโดยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.55+0.25) และการได้รับการดูแลด้านโภชนาการโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96+0.19) ด้านที่ต้องการการดูแลมากที่สุด คือ การประเมินก่อนการรับประทานอาหาร ขณะที่ด้านที่ได้รับการดูแลมากที่สุด คือ การให้ความช่วยเหลือก่อน/ขณะ/หลังรับประทานอาหาร และด้านที่ได้รับการดูแลน้อยที่สุด คือ สิ่งแวดล้อมในการรับประทานอาหาร เมื่อเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการ พบว่าด้านที่มีความต้องการฯไม่แตกต่างจากการได้รับการดูแลฯ คือ เวลาในการรับประทานอาหาร (p=1.00) และการให้ความช่วยเหลือก่อน/ขณะ/หลังรับประทานอาหาร (p= 0.08) ขณะที่ความต้องการฯ 7 ด้าน มากกว่าการได้รับการดูแลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ได้แก่ การประเมินก่อนการรับประทานอาหาร การดูแลอาการที่มีผลต่อการรับประทานอาหาร รายการอาหารแต่ละมื้อ ลักษณะของอาหารที่จัด การจัดอุปกรณ์การรับประทานอาหาร สิ่งแวดล้อมในการรับประทานอาหาร และคำแนะนำ
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแม้ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลฯในระดับมากแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการฯ บุคลากรและสถานพยาบาลจึงควรเพิ่มระดับการดูแลฯให้สอดคล้องกับความต้องการการดูแลด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับการรับประทานอาหารที่ดี
|
คำสำคัญ |
การดูแล ความต้องการ ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โภชนาการ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|