ชื่อบทความ |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีนที่หน่วยบริการ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
7 กรกฎาคม 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
10 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังไม่มีการสรุปแน่ชัดและยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน ในประชาชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังและไปข้างหน้า (Analytical retrospective cohort study) 384 คน หาความสัมพันธ์โดยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLM) นำเสนอค่า Adjusted RR พร้อม 95% CI
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน 30 วัน เป็นร้อยละ 31.25 ช่วงความเชื่อมั่น 95 % (95%CI) 26.79 ถึง 36.08 อาการที่พบสูงสุด ได้แก่ ไข้ ร้อยละ 20.35, ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 13.02 และปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ร้อยละ 10.16 ตัวแปรเพศ อายุ และโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ เพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดอาการ เป็น 1.77 เท่าของเพศชาย (Adjusted RR=1.77; 95% CI =1.21-2.59; p=0.003), ทุก ๆอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการ ลดลง 2 % (Adjusted RR =0.98; 95% CI = 0.97-0.99) และ ผู้ที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการเป็น 1.49 เท่าของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว(Adjusted RR = 1.49; 95% CI = 1.10-2.02)
สรุป: ข้อค้นพบนี้ สามารถเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและเตรียมเวชภัณฑ์ในการรักษาผู้ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์รวมถึงวางแผนการให้ข้อมูลแก่ประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจ และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเข้ารับวัคซีน
|
คำสำคัญ |
คำสำคัญ: อุบัติการณ์, อาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน, วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|