2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใบเนื่องจากความเค็มของต้นกล้าข้าวพันธุ์ กข6 และ กข6 ทนเค็ม ด้วยเทคนิคภาพถ่ายความร้อนอย่างง่าย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 14 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยในเครือเทางาม 6 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยพะเยา) 
     สถานที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  
     จังหวัด/รัฐ พะเยา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 26 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 37-46 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ กข6 เป็นข้าวเหนียวที่นิยมปลูกในประเทศไทย แต่ข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อความเครียดเกลือ ซึ่งมักพบในพื้นที่ปลูกข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงนำมาสู่การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ด้วยการนำส่วน Saltol QTLs จากข้าวพันธุ์พอคคาลีเข้าสู่ข้าวพันธุ์ กข6 ก่อให้เกิดสายพันธุ์ข้าว กข6 ทนเค็ม การประเมินความเครียดเกลือในข้าวด้วยการตรวจจับอุณหภูมิโดยใช้เทคนิคภาพถ่ายความร้อน เป็นวิธีที่เรียบง่าย และไม่ทำลายต้นพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิใบเนื่องจากความเครียดเกลือของต้นกล้าข้าวพันธุ์ กข6 กข6 ทนเค็ม พอคคาลี และไออาร์29 ด้วยการถ่ายภาพความร้อนอย่างง่าย แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และกลุ่มเครียดเกลือ ซึ่งได้รับโซเดียมคลอไรด์ 40 80 และ 120 mM ตามลำดับ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ และถ่ายภาพต้นกล้าด้วยกล้อง FLIR C2 พบว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใบของข้าวพันธุ์ กข6 และ ไออาร์29 เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ส่วนสายพันธุ์ กข6 ทนเค็ม มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน แต่มีระดับต่ำกว่า นอกจากนี้ข้อมูลอุณหภูมิใบสามารถใช้คำนวณดัชนีการขาดน้ำ และดัชนีการนำไหลปากใบ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของดัชนีนี้ในข้าวพันธุ์ กข6 และ กข6 ทนเค็ม 
ผู้เขียน
645020045-0 น.ส. ชลธิชา พรหมดวง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล Excellent oral presentation 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 26 พฤษภาคม 2566 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum